เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน คิดดี ทำดี จริงใจต่อทุกคน

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อสอบonline ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


- แบบทดสอบ เรื่องระบบหมุนเวียนเลือด
- แบบทดสอบ เรื่องระบบย่อยอาหาร
- แบบทดสอบ เรื่องระบบหายใจ
- แบบทดสอบ เรื่องระบบสืบพันธ์
- แบบทดสอบ เรื่องระบบโครงกระดูก
- ความรู้ เรื่อง กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1
- ความรู้ เรื่อง กฏการเคลื่อนที่ข้อที่ 2
- แบบทดสอบ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง
- แบบทดสอบ เรื่อง ความเร่ง
- แบบทดสอบ เรื่อง น้ำหนัก
- แบบทดสอบ เรื่อง กฏการเคลื่อนที่ ของนิวตัน
- แบบทดสอบ เรื่อง แรงลัพธ์

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคที่เกี่ยวข้องทางพันธุ์กรรม


พันธุ์กรรม

หมวดหมู่หัวข้อความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบเรื่องเซล์ล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

แนวข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ม.1
เซลล์และพืช


1. เซลล์คืออะไร.........(หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต )
2. ตัวอย่างของเซลล์ได้แก่..........(เซลล์เยื่อหอม เซลล์คุม เซลล์เม็ดเลือด เซลล์กระดูก  เซลล์ประสาท )
3.  สิ่งมีชีวิตต้องมีลักษณะอย่างไร.........( มีการเจริญเติบโต สืบพันธ์ได้ กินอาหารได้ เคลื่อนไหวได้ ตอบสนองได้)
4.  กล้องจุลทรรศน์คประกอบด้วยเลนส์ชนิดใด..........(เลนส์นูน อย่างน้อย 2 เลนส์)
5.  การใช้กล้องจุลทรรศน์ควรดูด้วยกำลังขยายใดเป็นลำดับแรก..........( กำลังขยายต่ำสุด และดูด้วยตา2ข้าง)
6.  หากดูภาพไม่ชัดเลยควรปรับอย่างไร..........( ปรับปุ่มปรับภาพหยาบก่อน แล้วจึงปรับปุ่มปรับภาพละเอียด)
7.  ผู้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์คนแรกคือใคร........( เลนส์เดียว คือ แอมโมนี แวน , เลนส์ปรกอบ โรเบิร์ต ฮุค)
8.  โครงสร้างพื้นฐานของเซลล์........( นิวเคลียส , ไซโตพลาสซึม , เยื่อหุ้มเซลล์หรือผนังเซลล์)
9.  เยื่อหุ้มเซลล์ โครงสร้าง และ ทำหน้าที่........( โครงสร้างเป็นไขมันและโปรตีน -คัดเลือกสารผ่านเข้าออก)
10. นิวเคลียส ทำหน้าที่.........(เก็บสารพันธุกรรม และ ควบคุมกิจกรรมต่างๆในเซลล์)
11. ผนังเซลล์ ทำหน้าที่่..........( สร้างความแข็งแรงแก่เซลล์ )
12.  ส่วนใดที่พบเฉพาะในเซลลืพืช.........( ผนังเซลล์ , คลอโรพลาส)
13.  การแพร่ หมายถึง..........( การที่อนุภาคสาร เคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูง ไปยังบริเวณเข้มข้นต่ำ)
14.  การแพร่จะเกิดเร็ว เมื่อใด.........( อุณหภูมิสูงขึ้น ความเข้มข้นต่างกันมากๆ โมเลกุลขนาดเล็กมากๆ)
15.  ออสโมซีส หมายถึง..........( การที่อนุภาคน้ำ เคลื่อนที่จากบริเวณที่มีสารเข้มข้นต่ำ ไปยังบริเวณสารเข้มข้นสูง )
16.  น้ำเข้าสู่รากพืช โดยวิธีใด.........( ออสโมซีส หรือ การแพร่ของน้ำ)
17.  ถ้าน้ำเข้าสู่เซลล์พืช-เซลล์สัตว์ มากๆ จะเป็นอย่างไร..........(เซลล์พืชจะเต่ง ส่วนเซลล์สัตว์จะแตก)
18.  ถ้าดินเค็มมากๆ เซลล์จะเป็นอย่างไร ........... ( น้ำจะออกจากเซลล์ ออสโมซีส สู่ดิน เซลล์เหี่ยว ขาดน้ำ ตาย)
19.  ท่อลำเลียงน้ำ เรียกว่า..........(ท่อไซเลม ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุไปพร้อมๆกัน)
20.  ท่อลำเลียงอาหาร........... ( ท่อโฟลเอม ลำเลียงอาหาร จากการสังเคราะห์แสง)
21. การดูดน้ำ ลำลเียงน้ำ ต้องอาศัยพลังงานใด........( พลังงานจาการคายน้ำของทางปากใบ )
22.  การคายน้ำเกิดขึ้นที่ใด......( บริเวณปากใบ ซึ่งปากใบจะอยู่ด้านหลังใบ)
23.  ท่ำลำเลียงน้ำของพืชใบเลี้ยงคู่ เป็นอย่างไร..........(เป็นระเบียบ เป็นวง ถ้าพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะ กระจัดกระจาย)
24.  การลำเลียงน้ำมีทิศทางอย่างไร......(เกิดขึ้นทางเดียว จากรากสู่ ลำต้น ใบ ปากใบ)
25.  การลำเลียงอาหารมีทิศทางอย่างไร..........( เกิดขึ้นได้2ทิศทาง จากใบสู่ลำต้น หรือ จากลำต้นสุ่ใบก็ได้)
26.  การสังเคราะห์แสง หมายถึง..........(การสร้างอาหาร โดยเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมี)
27.  วัตถุดิบที่ใช้ในการสังเคราะหืแสง ได้แก่........... ( น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และแสง เกิดขึ้นที่ คลอโรฟิลด์)
28.  สิ่งที่ได้จากการสังเคราะห์แสง คือ........( น้ำตาลกลูโคสเ็ป็้นลำดับแรก เก็บไว้ในรูปขอ แป้ง ออกซิเจนและน้ำ)
29.  นอกจากพืชแล้ว มีสิ่งใดที่มีคลอโรฟิลด์อีก......( แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกรมน้ำเงิน)
30.  การสังเคราะห์แสงเกิดบริเวณใด และเวลาใด..........(ทุกบริเวณที่มีคลอโรฟิลด์ ทุกเวลาที่มีแสง )
31. สารละลายใดที่ใช้ในการทดสอบแป้ง ......(ไอโอดีน หากเป็นแป้ง จะเปลี่ยนสีจากสีน้ำตาลเป็น น้ำเงินอมม่วง)
32. แสงสีใด ที่พืชสามารถสังเคราะหืแสงได้ดีที่สุด..........( สีแดง , ม่วง , น้ำเงิน ตามลำดับ)
33.  การสืบพันธุ์ของพืชมี2ชนิด คือ..........( การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ และ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ)
34.  อวัยวะสืบพันธุ์ของพืช คือ.........( เพศผู้ คือ เกสรตัวผู้ และ เพศเมีย คือ เกสรตัวเมีย)
35.  เซลล์สืบพันธุ์ของพืช คือ..........( เพศผู้ คือ ละอองเรณู หรือ สเปิร์ม และ เพศเมีย คือ ไข่)
36.  ดอกครบส่วน ต้องมีส่วนใดบ้าง.........( กลีบเลี้ยง , กลีบดอก , เกสรตัวผู้ , เกสรตัวเมีย = ปกป้องรังไข่)
37.  ตัวอย่างดอกที่มีไม่ครบส่วน ..........(ข้าวโพด เฟื้องฟ้า ฟักทอง ตำลึง มะละกอ มะพร้าว)
38.  การสืบพันธุ์ของพืช มีกี่ขั้นตอน ........... ( 2 ขั้นตอน คือ การถ่ายละอองเรณู กับ การปฏิสนธิ)
39.  การถ่ายละอองเรณู เป็นอย่างไร..........(การที่ละลอองเรณู ไปตกอยู่บนยอดเกสรตัวตัว)
40.  การปฏิสนธิ เป็นอย่งไร ........... (การที่นิวเคลียสของสเปิร์ม เข้าไปผสมกับไข่ ในรังไข่)
41. หลังจากปฏิสนธิ รังไข่ จะเจริญไปเป็นส่วนใด..........( รังไข่ เจริญเป็น ผล)
42.  หลังจากปฏิสนธิ ผนังรังไข่ จะเจริญไปเป็นส่วนใด..........( ผนังรังไข่ เจริญเป็น เนื้อผล)
43.  หลังจากปฏิสนธิ ออวุล ในรังไข่จะเจริญไปเป็นส่วนใด..........( ออวุล เจริญเป็น เมล็ด)
44.  การเกิด ผล มีกี่ปประเภท..........( 3 ประเภท คือ ผลเดี่ยว ผลรวม ผลกลุ่ม)
45.  ผลเดี่ยว หมายถึง..........( ผล ที่เกิดจากรังไข่อันเดียว ในดอกเดียว เช่น มะม่วง เงาะ มะพร้าว ลำใย)
46.  ผลกลุ่ม หมายถึง.......( ผล ที่เกิดจากรังไข่หลายอัน ในดอกเดียว เช่น ฝักบัว ลูกจาก น้อยหน่า สตรอเบอรี่)
47.  ผลรวม หมายถึง..........( ผล ที่เกิดจากรังไข่อันเดียว ในดอกช่อ เช่น สัปรส ลูกยอ ขนุน มะเดื่อ)
48.  การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ คือ ........... ( การสืบพันธุ์ที่ไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์ เช่น แตกหน่อ ติดตา ตอนกิ่ง)
49.  การขยายพันธ์แบบใดที่ได้จำนวนมากที่สุด ใช้เวลาน้อยที่สุด..........(การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ )
50.  การเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มีวิะีการอย่างไร........... ( ตัดเนื้อเยื่อเจริญ แคลลัส ไปเพาะในอาหารวุ้น)
51. สิ่งเร้าคือ ..........( สิ่งที่มากระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง เช่น แสง น้ำ การสัมผัส แรงโน้มถ่ววง อุณหภูมิ อาหาร)
52.  การตอบสนองมีกี่ประเภท .........( 2 ประเภท คือ ตอบสนองจากเจริญเติบโต และ ตอบสนองจากน้ำในเซลล์)
53.  ตัวอย่างการตอบสนอง..........( ทานตะวันเอนเข้าหาแสง ดอกบัวบานตอนกลางวัน การหุบของไมยราบ)
54.  พืชกินสัตว์ ตอบสนองสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งมาสัมผัส.........( กาบหอยแครง หม้อข้าวหม้อแกงลิง หยาดน้ำค้าง)
55.  พืชใบเหี่ยวเมื่อหมดแสง..........( ดอกแค กระถิน ผักกระเฉด ถั่ว )
56.  สาเหตุที่พืชส่วนใหญ่จะเหี่ยวตอนกลางวัน คือ.........( พืชมีการคายน้ำ เร็วกว่า ดูดน้ำ เข้าสู่เซลล์)
57.  บริเวณป่าทึบ มีต้นไม้ขึ้นหนา ต้นไม้จะมีลักษณะอย่างไร..........(ต้นสูงตรง เพื่อรับแสงให้ได้มากที่สุด)
58.  พืชในทะเลทราย มีการปรับตัวอย่างไร ........... ( ลำต้นอวบเพื่อเก็บน้ำ เปลี่ยนใบเป็นหนามเพื่อไม่คายน้ำ)
59.  สิ่งเร้าที่มีผลต่อพืชมากที่สุดคือ..............(แสง )
60.  พืชส่วนใหญ่จะตอบสนองต่อแสงอย่างไร........... ( เข้าหาแสง เพื่อทำการสังเคราะหืแสง)

เซล์ลพืชและเซล์ลสัตว์

ปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเซลล์พืช และเซลล์สัตว์
เซลล์พืช                             เซลล์สัตว์
1. เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม    1. เซลล์สัตว์มีรูปร่างกลม หรือรี
2. มีผนังเซลล์อยู่ด้านนอก           2. ไม่มีผนังเซลล์ แต่มีสารเคลือบเซลล์อยู่ด้านนอก
3. มีคลอโรพลาสต์ภายในเซลล์      3. ไม่มีคลอโรพลาสต์
4. ไม่มีเซนทริโอล                   4. มีเซนทริโอลใช้ในการแบ่งเซลล์
5. แวคคิวโอลมีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน    5. แวคคิวโอลมีขนาดเล็ก มองเห็นได้ไม่ชัดเจน
6. ไม่มีไลโซโซม                   6. มีไลโซโซม

สิ่งเปรียบเทียบ                      สัตว์                                             พืช

รูปร่าง                            ค่อนข้างกลม                                ค่อนข้างเหลี่ยม
ผนังเซลล์                           ไม่มี                                               มี
เยื่อหุ้มเซลล์                          มี                                                มี
คลอโรพลาสต์                      ไม่มี                                              มี
แวคิวโอล                         ขนาดเล็ก                                     ขนาดใหญ่
เซนทริโอล                            มี                                               ไม่มี

องค์ประกอบการเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์

1.  ชื่อโครงงาน
2.
 ชื่อผู้ทำโครงงาน
3.
 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
4.  บทคัดย่อ
5กิตติกรรมประกาศ (คำขอบคุณ)
6.
 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
7.
  วัตถุประสงค์ของโครงงาน
8.
  สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)
9.
  ขอบเขตของการทำโครงงาน
10. วิธีดำเนินการ
11.
ผลการศึกษาค้นคว้า
12.
 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
13.
 เอกสารอ้างอิง

บุคลากรโรงเรียนบ้านป่าสัก(ทศพลอนุสรณ์)

                                                 นายสุเชษฐ์   เรือนก้อน
                                      ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าสัก(ทศพลอนุสรณ์)
                                                   นางประมวล   ธรรมะ
                                                 นางวาสนา   ธีระเพ็ญแสง

20 เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้

20 เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้
1. เส้นเลือดในร่างกายมนุษย์มีความยาวรวม 62,000 ไมล์ ถ้านำมันมาเรียงต่อกันเป็นทางยาวจะได้ความยาว ถึง 2.5 เท่าของเส้นรอบวงโลก
2. The Great Barrier Reef (แนวปะการังที่ยาวทีสุดในโลกบริเวณออสเตรเลีย) เป็นโครงสร้างสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีความยาวกว่า 2000 กิโลเมตร

3. โอกาสที่โลกจะถูกโจมตีด้วยอุกาบาตขนาดใหญ่ อยู่ที่ 9300 ปีต่อครั้ง

4. ดาวนิวตรอนขนาดเท่าหัวแม่มือมีน้ำหนักกว่า 100 ล้านตัน
5. พายุเฮอริเคนหนึ่งลูกผลิตพลังงานเท่ากับระเบิดขนาด 1 เมกะตันจำนวน 8000 ลูก
6. คาดว่ามีพยาธิปากขอ ซื่งดูดเลือดเป็นอาหารอยู่ในร่างกายมนุษย์โลกเรา 700 ล้านคน
7. Fred Rompelberg คือผู้ขี่จักรยานด้วยความเร็วที่สุดในโลกด้วยความเร็ว 166.94 ไมล์ต่อชั่วโมง
8. มนุษย์เราสามารถคิดค้นแสงเลเซอร์ที่มีความสว่างกว่าแสงอาทิตย์ 1 ล้านเท่า
9. 65% ของผู้ป่วยออทิสติคส์ เป็นคนถนัดซ้าย
10. Finnish pine tree (ต้นสนชนิดหนึ่งในฟินแลนด์) มีความยาวของรากแต่ละต้นรวมแล้วกว่า 30 ไมล์
11. จำนวนเกลือที่อยู่ในน้ำทะเลทั่วโลกเรา สามารถปกคลุมพื้นผิวทวีปทั่วโลกได้หนากว่า 500 ฟุต
12. กลุ่มแก๊สระหว่างหมู่ดาวในราศีธนู มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์นับหมื่นล้านล้านลิตร
13. หมีขั้วโลกสามารถวิ่งด้วยความเร็ว 25 ไมล์ต่อชัวโมง และกระโดดได้สูงกว่า 6 ฟุต
14. มนุษย์และปลาโลมาสืบสายพันธ์เดียวกันมาตั้งแต่ 60 - 65 ล้านปีก่อน
15. กล้อง infared จับภาพหมีขั้วโลกได้ยากมาก เนื่องจากคุณสมบัติของขนของมัน
16. เฉลี่ยแล้วในหนึ่งปี คนเราจะกินสัตว์จำพวกเห็บลิ้นไร โดยไม่ได้ตั้งใจไป 430 ตัวต่อคนต่อปี
17. รากของต้น Rye(ข้าวชนิดหนึ่งใช้หมักสุรา) สามารถแผ่ขยายไปได้ถึง 400 ไมล์
18. อุณหภูมิบนพื้นผิวของดาวพุธสูงกว่า 430 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน แต่ลดลงต่ำกว่า ติดลบ 180 องศาเซลเซียสในเวลากลางคืน
19. ภายใน 24 ชั่วโมง ต้นโอ๊กขนาดใหญ่ขับน้ำ(ในรูปของไอน้ำ)ออกมา 10 - 25 แกลลอน
20. ผีเสื้อรับรู้รสด้วยขาหลังของมัน โดยประสาทการรับรู้ทำงานโดยการสัมผัส ทำให้มันรู้ว่าใบไม้และดอกไม้ที่มันสัมผัส มีรสชาติอย่างไรและกินได้หรือไม่
สร้างโดย: 
พัช ศรีพุทธา ม.6/4 เลขที่ 17 โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

ผู้ติดตาม