เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน คิดดี ทำดี จริงใจต่อทุกคน

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)
นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักปรัชญาเมธี ชาวอิตาเลี่ยน
เกิด 15 กุมภาพันธ์ คศ.1564 ที่ เมืองปิซ่า อิตาลี
เสียชีวิต 8 มกราคม คศ.1642

        กาลิเลโอ เป็นคนที่ชอบวิชาคณิตศาสตร์มาก แต่บิดาของเขาอยากให้เรียนวิชาการแพทย์ เพราะสามารถหาเงินง่ายและเป็นที่นับถือแต่เขาไม่ชอบเอาเสียเลย นอกจากนี้เขายังสนใจด้านศิลปะภาพเขียน เขายังมีความสามารถด้านดนตรี บิดาของกาลิเลโอเป็นนักคณิตศาสตร์และดนตรีและนักเขียนพอมีชื่อเสียงแต่ฐานะ ไม่รำรวย แต่เขาไม่อยากให้บุตรชายเป็นเหมือนเขา จึงได้ส่งเขาไปร่ำเรียนในมหาวิทยาลัยเมืองปิซาด้านการแพทย์ จนอายุได้ 19 ปี มีศาสตราจารย์คนหนึ่งมาสอนเรื่อง คณิตศาสตร์ เขาได้แอบเข้าไปเรียนด้วย จนกระทั่งกล้าซักถามปัญหาและต่อมาหลังจากได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ เมืองปิซ่า กาลิเลโอ เคยไปสวดมนต์ที่โบสถ์เขาสังเกตเห็นโคมไฟในโบสถ์ถูกลมพัดแกว่งไป-มา เมื่อลมหยุดตะเกียงแกร่งสั้นเข้าๆ จนในที่สุดมันก็หยุด เขาได้ความรู้ว่าแม้ช่วงที่แกร่งสั้นเข้า แต่ความเร็วก็ไม่ได้ลดลงเลย ความคิดนี้เขาได้นำมาประดิษฐ์นาฬิกาลูกตุ้มให้แก่พ่อของเขาเรือนหนึ่ง อีกครั้งหนึ่งเขานับจังหวะการแกว่งของโคมไฟกับการเต้นของหัวใจ จนประดิษฐ์เครื่องมือวัดการเต้นของหัวใจได้ว่าเต้นนาทีละกี่ครั้ง เขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ของแม้จะมีน้ำหนักต่างกันแต่ตกถึงพื้นพร้อมกัน โดยขึ้นไปบนหอเอียงปิซ่า เอาของที่มีน้ำหนักต่างกันทิ้งลงมา ปรากฎว่าถึงพื้นดินพร้อมกันซึ่งหลักอันนี้แม้จะขัดกับคำพูดของอริสโตเติลแต่ ก็เป็นความจริง นอกจากนี้เขายังค้นพบดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีด้วยกล้องโทรทัศน์ที่เขา ประดิษฐ์ขึ้นมา และเขาก็ได้พิสูจน์ได้ว่า โลกไม่ได้อยู่นิ่งๆหรือเป็นศูนย์กลางของดวงดาวทั้งหลายแต่โลกหมุนรอบดวง อาทิตย์ ซึ่งทำให้คณะบาทหลวงและกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับเขาและโป้ปฟ้องหาว่าเขาเป็นคน นอกศาสนา (เพราะไปขัดแย้งกับแนวคิดทางศาสนา กับ อริสโตเติ้ล)ห้ามไม่ให้เขาเผยแพร่ความคิดนี้ และประกาศให้คนทั่วไปทราบว่าความคิดของเขาผิด เขาได้เป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ ที่อายุน้อย คือ 24 ปี ทั้งที่ไม่มีใบปริญญาที่เมืองปิซา แต่อยู่ได้ไม่นานต้องลาออกไปเพราะไปขัดแย้งของของตกจากที้สูงที่ขัดแย้งกับ อริสโตเติล จนได้ไปสอนที่มหาวิทยาลับปาดัว (University of Padua) ที่ยาวนานถึง18 ปี ในบั้นปลายชีวิตของกาลิเลโอ นั้นน่าสงสารยิ่ง เพราะเขาป่วยจนตาบอดเพราะมาจากการใช้สายตาส่องดูกล้องมากเกินไป จนตายไป แม้ตอนตายหลุมศพเขายังห้ามมิให้มีแผ่นศิลาจารึกให้เขาอีกด้วย ศพของเขาได้ถูกนำไปฝัง ณ Church of Santa Croce หลังจากนั้นอีก 50 ปี ก็ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ไว้เป็นเกียรติกับความสำเร็จของเขาในกาลต่อมาก็ เป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก
ผลงานค้นพบที่สำคัญของ กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)
  • ได้ตั้งกฎเพนดูลัม (Pendulum) หรือกฎการแกว่งของนาฬิกาลูกตุ้ม



  • การค้นพบเรื่องของหนักกับของเบาจะตกลงถึงพื้นพร้อมๆกัน



  • ผู้ค้นพบหลักวิชาพลศาสตร์ (Dynamic) การเคลื่อนไหวของระยะการยิงปืนใหญ่วิถีกระสุนจะเป็นวิถีโค้ง



  • สร้างกล้องโทรทัศน์ดูดาวบน ท้องฟ้า ผิวของดวงจันทร์ การค้นพบความแตกต่างของดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์ว่าดาวเคราะห์มีลักษณะเหมือนดวง จันทร์ ส่วนดาวฤกษ์นั้นมีแสงสว่างพุ่งออกมา และยังค้นพบจุดดำบนดวงอาทิตย์



  • พบทางช้างเผือก (Milky Way)



  • ผลงานด้านงานเขียน ของ กาลิเลโอ
  • Hydrostatic Balance บทความที่ว่าด้วยเรื่องตาชั่ง



  • Center of Gravity of Solid, หนังสือว่าด้วยจุดศูนย์ถ่วงของของแข็ง



  • Letter on the Solar Spots,หนังสือว่าด้วยจุดดำในดวงอาทิตย์และระบบสุริยะว่าโลกและดาวเคราะห์ หมุนรอบดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางระบบสุริยะ



  • Dialogo Die Due Massimi Sistemi Del Mondo หนังสือต้องห้ามที่ห้ามจำหน่ายใน อิตาลีเพราะผิดกับระบบศาสนาคริสต์ในสมัยนั้น ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับดาวหางนั้นมาจากเกิดแสงของดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับรุ้งกินน้ำ



  • ค้นพบทางช้างเผือก (Milky Way)

    กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marcony)

    กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marcony)
    เกิด 25 เมษายน ค.ศ.1874 เมืองโบโลนยา อิตาลี
    เสียชีวิต 20 กรกฎาคม ค.ศ 1937 ที่กรุงโรม อิตาลี

            เกิดที่ประเทศอิตาลี บิดาฐานะร่ำรวยเขาจึงได้เข้าเรียนในโรงเรียนกินนอน หลังจากนั้นก็มาศึกษากับสถาบันด้านเทคนิคที่มีชื่อเสียงที่เมืองเล็กฮอร์น เขาใฝ่ฝันที่จะมีอาชีพด้านทหารเรือซึ่งสนใจเรื่องไฟฟ้ามาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และบิดาก็สนับสนุนเขามาตลอด แต่บังเอิญวันหนึ่งเขาได้ฟังปาฐกถาวิชาฟิสิกส์จาก ศาสตราจารย์ กิออตโต บิสชารีน เขาถึงกับตื่นเต้นสนใจมากขนาดให้แม่จ้างนักฟิสิกส์มาสอนพิเศษที่บ้าน พออายุ 16 ปีเขาก็เริ่มสนใจวิชาไฟฟ้าอย่างดื่มด่ำ ซึ่งสามารถสร้างเครื่องมือถ่ายทอดกระแสไฟฟ้าได้ หลังจากนั้น ขณะศึกษาอยู่ ณ มหาวิทยาลัยโปโลนยา เขาอ่านวารสารฉบับหนึ่ง เรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าของ ไฮน์ริช รูดอลฟ เฮิร์ต นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เขาเกิดความมานะที่จะส่งคลื่นไฟฟ้าไปในอากาศ และเขาก็ทำสำเร็จเขาสามารถส่งวิทยุข้ามภูเขาสูงได้ ขณะอายุ 22 ปี ในปี คศ.1895 เขาสามารถประดิษฐ์ กริ่งไฟฟ้าไร้สายขึ้นได้ จนในปี 1897 เขาก็สามารถประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุโทรเลขและทำการทดลองส่งวิทยุโทรเลขไร้ สาย ในระยะ 1 ไมล์ มารดาของเขาเห็นความสำคัญของการจดทะเบียนสิทธิบัตร จึงแนะนำให้เขาเดินทางไปอังกฤษเมื่อคนอิตาลีไม่สนใจ ที่นั่นเขาค้นพบเรื่องวิทยุ จนกระทั่งสามารถส่งข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้ ในวันที่ 27 มีนาคม คศ.1899 ที่อายุเพิ่งจะ 25 ปี เขาทำงานด้วยความมานะ อดทนบากบั่น มุ่งมั่นต่อความสำเร็จเป็นจุดหมายปลายทาง แม้คนในบ้านเกิดของเขาจะไม่เห็นความสำคัญ กับผลงานที่เขาทำสำเร็จ เพื่อนผู้มีส่วนร่วมในผลงานของเขาคือ แม็กส์เวลล์ ชาวอังกฤษ และเอิร์ท ชาวเยอรมัน และอีกคนคือ แบรนลี่ ชาวฝรั่งเศส

    ผลงานการค้นพบ ของ กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marcony)
    • ประดิษฐ์เครื่องรับส่งวิทยุโทรเลข
    • ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1907 จากผลงานการค้นคว้าและประดิษฐ์วิทยุ

    กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marcony)


    [ดูภาพทั้งหมดในหมวด]


    จมส์ วัตต์ (James Watt)

    เจมส์ วัตต์ (James Watt)
    เกิด 19 มกราคม ค.ศ.1736 เมือง กรีนน็อค อังกฤษ
    เสียชีวิต 25 สิงหาคม ค.ศ.1819 อังกฤษ

            เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เริ่มต้นจากการเป็นผู้ช่วยในห้องทดลองโดยมี หน้าที่ดูแลเครื่องมือวิทยาศาสตร์และนิสัยรักการทดลองของเขาทำให้เขาประสบ ความสำเร็จในการพัฒนาผลงานดั้งเดิมของนักวิทยาศาสตร์รุ่นพี่ให้ใช้งานได้ อย่างสมบูรณ์ เจมส์วัตต์มีนิสัยชอบประดิษฐ์คิดค้นมาตั้งแต่เด็กและอยากเรียนรู้ในการทำ เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์และการคำนวณ เขาเกิดมาในครอบครัวฐานะยากจนบิดามีอาชีพเป็นช่างไม้มีธุรกิจเกี่ยวกับไม้ ทุกชนิด ทำให้เขามีการศึกษาไม่มากนัก พออายุได้ 18 ปี เขาก็ออกจากบ้านมาที่เมือง กลาสโกว์ ได้งานเป็นผู้ช่วยช่างเพื่ออยากเรียนต่อ และทำงานกลางคืนทำให้สุขภาพไม่ดีจึงลาออก จนมาได้งานเป็นช่างซ่อมเครื่องมือที่ มหาวิทยาลัยกลาสโกร์ เขาสามารถซ่อมเครื่องจักรไอน้ำของ นิวโคแมนได้ และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพใช้งานได้ดี โดย โทมัส นิวโคแมนเป็นวิศวกรชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องจักที่ใช้แรงขับเคลื่อนไอน้ำ ได้สำเร็จ เครื่องจักรของเขาใช้ในการปั๊มน้ำออกจากเหมืองถ่านหิน แต่เจมส์ วัตต์เห็นว่าเครื่องจักรของ นิวโคแมนทำงานช้า ในราวปี ค.ศ.1764 เขาจึงเริ่มสานงานโดยการดัดแปลงเครื่องจักรของนิวโคแมนให้ดียิ่งขึ้น โดยการพัฒนาให้แกนของลูกสูบหมุนให้หมุนเร็วขึ้นจากเดิมเป็น 2 เท่า
            จากนอกนี้เขายังคิดค้นหน่วยทางวิทยาศาสตร์สำหรับคำนวณแรงงานขึ้น โดยการใช้ม้าแข็งแรงตัวหนึ่งให้ยกของหนัก 33,000 ปอนด์ เป็นระยะทาง 1 ฟุตใน 1 นาที ให้เรียกแรงงานนี้ว่า หนึ่งแรงม้า ซึ่งในปัจจุบันนี้ 1 แรงม้าก็คืองานมีค่าเท่ากับ 33,000 ฟุต/ปอนด์ในหนึ่งนาที
            ถึงแม้จะไม่นับว่า เจมส์ วัตต์ เป็นผู้สร้างเครื่องจักรไอน้ำขึ้นเป็นคนแรกก็ตาม แต่ก็ต้องนับว่า เขาเป็นผู้วิวัฒนาการเครื่องจักรไอน้ำให้ดียิ่งขึ้น และยังเป็นต้นกำเนิดของเครื่องยนต์ในปัจจุบัน และเจริญแพร่หลายมากขึ้น เจมส์ วัตต์ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1819 ขณะมีอายุได้ 83 ปี

    ผลงานการค้นพบ ของ เจมส์ วัตต์ (James Watt)

    • พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    • บัญญัติศัพท์คำว่า แรงม้า (Horse Power)

    เจมส์ วัตต์ (James Watt)


    [ดูภาพทั้งหมดในหมวด]

    อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง (Alexander Flaming)


    อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง (Alexander Flaming)
    เกิดวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1881 ประเทศสก๊อตแลนด์
    เสียชีวิต 11 มีนาคม ค.ศ. 1955 กรุงลอนดอน อังกฤษ

            เฟลมมิ่ง เป็นชาวสก๊อตแลนด์บิดา-มารดาฐานะดี บิดาชื่อ ฮิวส์เฟลมมิ่ง (Huge Fleaming) ชีวิตในวัยเด็กเขาเป็นเด็กฉลาดซุกซนรอบรู้จนได้เข้าเรียนด้านแพทย์ศาสตร์ที่ วิทยาลัยแพทย์แห่งโรงพยาบาลเซนต์แมรี่ และจบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 หลังเรียนจบได้เข้าทำงานเป็นแพทย์ประจำแผนกภูมิคุ้มกันโรค แผนกแบคทีเรีย เป็นทหารเสนารักษ์ ประจำกองทัพตำรวจหลวง (Royal Army Corps) ทำให้เขาได้เห็นและรักษาเหล่าทหารบาดเจ็บจากภาวะสงครามเป็นจำนวนมาก โรคที่ตามมาเช่น บาดทะยักมีอาการอักเสบ เน่าเปื่อย จนทำให้ทหารต้องเสียชีวิต ซึ่งมาจากเชื่อจุลินทรีย์นั่นเองเป็นแรงบันดาลใจให้เขาทำการศึกษาค้นคว้า เรื่องแบคทีเรียอย่างจริงจังจนทำให้เขาได้ค้นพบแบคทีเรียที่ชื่อว่า “สเตปฟิโบ คอกคัส” (Staphy lococlus) ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อนี้จะปวดแสบบาดแผลมาก จนเขาสามารถสกัดเชื้อนี้ได้จาก น้ำมูก น้ำตา ของมนุษย์นี้เองแต่ก็ไม่สามารถปราบได้ราบคาบ จนในที่สุดก็สามารถค้นพบเชื้อราชนิดหนึ่งนำมาสกัดเป็นยาชื่อ เพนนิซิลิน เชื้อราชนิดนี้อยู่ในกลุ่มเพนนิซิเลียม โดยร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียชื่อ โฮวาร์ด วอลเทอร์ (Howard Walter) ในการสกัดแยกเพนนิซิลินได้จนสำเร็จจนทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ในปี ค.ศ. 1945 ร่วมกับ โฮวาร์ด วอลเทอร์ และเอิร์น โบร์ลเซน ประโยชน์ของยาเพนนิซิลินสามารถโรคต่างๆ ได้มากกว่า 80 ชนิด เช่น แอนแทรกซ์, คอตีบ, ปอดอักเสบ, บาดทะยัก, เยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นต้น ในปี ค.ศ. 1955 เสียชีวิตด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ


    ผลงานการค้นพบ ของ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง (Alexander Flaming) 

    • ค้นพบเชื้อราชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า เพนนิซีเลียม (Peniciliam) แล้วนำมาสกัดเป็นตัวยามีชื่อว่า เพนนิซิลิน (Penniciline)
    • ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ร่วมกับโฮวาร์ด

      แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse)

      แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse)
      เกิด 17 เมษายน ค.ศ.1791รัฐแมสซาซูเซส สหรัฐอเมริกา
      เสียชีวิต 2 เมษายน ค.ศ.1872 นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา

              เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน บิดามีอาชีพเป็นนักบวชและนักเขียน เขาจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัย เยล ด้านศิลปะและชื่นชอบอีกด้วย จนสนใจอยาดศึกษาให้เชี่ยวชาญจนเขาได้ไปศึกษาด้านศิลปะที่อังกฤษ พบจิตรกรที่มีชื่อเสียงหลายคน เขาต้องทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย เช่น รับจ้างวาดภาพขาย จนสามารถเปิด Gallery ได้ แต่ไม่โด่งดังมากเท่าใด จนวันหนึ่งเขามีโอกาสได้พบกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้า ชื่อ Charls F. Jacson ซึ่งเขาเองก็สนใจด้านนี้อยู่เหมือนกัน ส่วนการสนใจการประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขนั้นเริ่มขึ้นเมื่อปี 1832 เขาได้เฝ้าดูการทดลองของ ดร.แจ็คสัน เอาลวดพันรอบๆแท่งเหล็กแท่งหนึ่งและแสดงให้เห็นว่า เหล็กกลายเป็นแม่เหล็กเนื่องจากใช้ดูดตะปูได้ แต่เมื่อตัดกระแสออก เหล็กก็หมดความเป็นแม่เหล็กและตะปูก็จะร่วงลงมา จากการทดลองเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้านี้เอง ทำให้ แซมมวล มอร์สเกิดความคิดเกี่ยวกับการส่งรหัส โดยอาศัยแม่เหล็กไฟฟ้า
              โดยการที่เขาได้ประดิษฐ์สวิทช์ไฟง่ายๆ ขึ้นจากแผ่นโลหะสปริงทองเหลือง ตรงปลายมีปุ่มไม้สำหรับกด เมื่อกดปุ่มไม้ลงจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสวิทช์ แต่เมื่อเลิกกดปุ่ม สวิทช์จะเกิดกระแสไม่ไหล สมัยนี้เราเรียกเราเรียกสวิทช์เช่นนี้ว่า “สะพานไฟของมอร์ส” ใช้ในการส่งกระแสเป็นเวลาสั้นๆ ยาวๆ ตามรหัส กระแสนี้ไหลผ่านสายลวดที่ขึงไว้ระหว่างเมืองกับเมือง หรือประเทศกับประเทศ ไปยังแม่เหล็กไฟฟ้าเล็กๆ ซึ่งมีสปริงที่เรียกว่า “อาร์เมเจอร์” ต่ออยู่ ในขณะที่มีกระแสสั้นๆ หรือ “จุด” อาร์เมเจอร์ จะถูกดูดด้วยแม่เหล็ก และดีดกลับเพราะสปริง ในขณะที่มีกระแสยาวๆ หรือ “ขีด” อาร์เมเจอร์ จะถูกดูดนานหน่อยโดยใช้ออดไฟฟ้า เราอาจได้ยินเสียงออดสั้นๆ ยาวๆ แทนตัวอักษรต่างๆ เพื่อที่จะได้ส่งข้อความไปตามเส้นลวดด้วยรหัสเช่นนี้ได้ ระบบเช่นนี้เรียกว่า “รหัสของมอร์ส” ซึ่งใช้มาจนถึงทุกวันนี้ เขาสนใจทั้งด้านศิลปะ และเครื่องส่งโทรเลขจนประสบผลสำเร็จ แม้จะขาดแคลนทั้งเงินทองและเวลา เพราะกลางวันต้องทำงานสอน ส่วนกลางคืนก็ทดลองทำงานประดิษฐ์นี้ จนวันที่ 2 กันยายน 1837 เขาก็สามารถส่งโทรเลขได้ภายในหอประชุมของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค ส่วนการส่งไปปลายทางไกลๆ ครั้งแรกระหว่าง กรุงวอชิงตัน ไป บัลติมอร์ ระยะทาง 38 ไมล์ ด้วยข้อความว่า “พระเจ้าทำงานอะไร” จนเขาเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม ทางสมาคมโทรเลขแห่งสหรัฐอเมริกาได้สร้างอนุสาวรีย์แก่เขาที่สวนสาธารณะใน เมืองนิวยอร์ค

      ผลงานการค้นพบ ของ แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse) 

      • คิดค้นรหัสมอร์ส ซึ่งใช้แทนตัวหนังสือในการส่งโทรเลข
      • คิดค้นประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขฃ

      แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse)

      [ดูภาพทั้งหมดในหมวด]

      วอลเทอร์ และเอิร์น โบร์เซน ในปี ค.ศ. 1946

    อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง (Alexander Flaming)




  • กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักปรัชญาเมธี ชาวอิตาเลี่ยน

    [ดูภาพทั้งหมดในหมวด]

    รูปนักวิทยาศาสตร์ของโลก

























    ผู้ติดตาม