เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน คิดดี ทำดี จริงใจต่อทุกคน

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

โทษของการขาดสารอาหาร

 โทษของการขาดสารอาหาร
ประเทศไทยแม้จะได้ชื่อว่า  เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มากมายหลายชนิด  เพราะนอกจากจะสามารถผลิตอาหารพอเลี้ยงประชากรในประเทศได้แล้ว  ยังมากพอที่จะส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้ปีละมาก ๆ อีกด้วย  แต่กระนั้นก็ตาม  ยังมีรายงานว่า  ประชากรบางส่วนของประเทศยังเป็นโรคขาดสารอาหารอีกจำนวนไม้น้อย  โดยเฉพาะทารกและเด็กอ่อน วัยเรียน  เด็กเหล่านี้อยู่ในสภาพที่ร่างกายไม้เจริญเติบโตเต็มที่  มีความต้านทานต่อโรคติดเชื้อต่ำ  นอกจากนี้นิสัยโดยส่วนตัวของคนไทยก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคขาดสารอาหารทั้งนี้เพราะคนไทยเลือกกินอาหารตามรสปาก  รีบร้อนกินเพื่อให้อิ่มท้อง  หรือกินตามทที่หามาได้  โดย ไม่คำนึงถึงว่ามีสารอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกายครบถ้วนหรือไม่ พฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้เกิดโรคขาดสารอาหารได้โดยไม่รู้สึกตัว
                            นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้วว่า  เมื่อกินอาหารเข้าสู่ร่างกายแล้วและอาหารก็จะถูกย่อยสลายโดยอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย   ให้เป็นสารอาหารเพื่อนำไปทำหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้
                              1.ให้พลังงานและความร้อนเพื่อใช้ในการทำงานของอวัยวะภายใน เช่น การหายใจ  การยืดหดของกล้ามเนื้อ  การย่อยอาหารเป็นต้น
                              2.สร้างความเจริญเติบโตสำหรับเด็ก  และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหรือชำรุดทรุดโทรมในผู้ใหญ่
                              3.ช่วยป้องกันและสร้างภูมิต้านทานโรค  ทำให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
                              4.ช่วยควบคุมปฏิกิริยาต่าง ๆ ภายในร่างกาย
                             ดังนั้นถ้าร่างกายของคนเราได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนหรือปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย  ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติและเกิดโรคขาดสารอาหารได้
 โรคขาดสารอาหารที่สำคัญและพบเห็นบ่อยในประเทศไทยมีดังนÕé
1.โรคขาดโปรตีนและแคลอรี
โรคขาดโปรตีนและแคลอรีเป็นโรคที่เกิดจากร่างกายได้รับสารอาหารประเภทโปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  และไขมันที่มีคุณภาพดีไม่เพียงพอ  เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี  โดยเฉพาะทารกและเด็กก่อนวัยเรียน  อันเนื่องมาจากการเลี้ยงดูที่ไม่เอาใจใส่เริ่งการกินอาหารหรือไม่มีความรู้ทางโภชนาการดีพอ  ลักษณะอาการของโรคมี 2 รูปแบบ  คือ  ควาซิออร์กอร์ ( Kwashiorkor ) และมาราสมัส ( Marasmus )
1.1.ควาชิออร์กอร์  เป็นลักษณะอาการที่เกิดจากการขาดสารอาหารประเภทโปรตีนอย่างมาก  มักเกิดกับทารกที่เลี้ยงด้วยนมข้นหวาน  นมผงผสม  และให้อาหารเสริมประเภทข้าวหรือแป้งเป็นส่วนใหญ่  ทำให้ร่างกายขาดโปรตีนสำหรับการเจริญเติบโตและระบบต่าง ๆ บกพร่อง  ทารกจะมีอาการซีด  บวมที่หน้า  ขา  และลำตัว  เส้นผมบางเปราะและร่วงหลุดง่าย  ผิวหนังแห้งหยาบ  มีอาการซึมเศร้า  มีความต้านทานโรคต่ำ   ติดเชื้อง่าย  และสติปัญญาเสื่อม
1.2.มาราสมัส   เป็นลักษณะอาการที่เกิดจากการขาดสารอาหรประเภท โปรตีน  คาร์โบไฮเดรตและไขมันผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการคล้ายกับเป็นควาชิออร์กอร์แต่ไม่มีอาการบวมที่ท้อง  หน้า  และขา  นอกจากนี้ร่างกายจะผอมแห้ง  ศรีษะโตพุงโร  ผิวหนังเหี่ยวย่นเหมือนคนแก่  ลอกออกเป็นชั้นได้  และท้องเสียบ่อย
อย่างไรก็ตาม  อาจมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีลักษณะทั้งควาชิออร์กอร์  และมาราสมัสในคนเดียวกันได้
              
  รูป   ลักษณะของเด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีนและแคลอรี
ประเภทควาชิออร์กอร์และมาราสมัส
 จากการสำรวจพบว่า  ทารกและเด็กก่อนวัยเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นโรคขาดโปรตีน  และแคลอรีมากที่สุด   นอกจากนี้จากรายงานสถานภาพโภชนาการในประเทศไทยของกองโภชนาการ  กรมอนามัย  ยังพบอีกว่าในหญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตรโดยเฉพาะในชนบทมีภาวะโภชนาการไม่ดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์   มีอาการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุยังน้อย   และขณะตั้งครรภ์งดกินอาหารประเภทโปรตีน    เพราะเชื้อว่าเป็นของแสลงทำให้ได้รับพลังงานเพียงร้อยละ  80  และโปรตีนร้อยละ 62 - 69  ของปริมาณที่ควรได้รับ
การขาดสารอาหารประเภทโปรตีนเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยรุ่น  ด้วยเหตุนี้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการส่งเสริมให้เลี้ยงทารกด้วยนมมารดามากขึ้น  และส่งเสริมให้เด็กดื่มนมวัวน้ำนมถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น  เพราะน้ำนมเป็นสารอาหารที่สมบูรณ์ที่สุดเนื่องจากประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ ครบทั้ง 5 ประเภท
นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีหน่วยงานหลายแห่งได้ศึกษาค้นคว้าหาวิธีการผลิตอาหารที่ให้คุณค่าโปรตีนแต่มีราคาไม่แพงนัก  ให้คนที่มีรายได้น้อยได้กินกันมากขึ้น  สถาบันค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร   มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ได้ค้นคว้าทดลองผลิตอาหารโปรตีนจากพืชเพื่อทดแทนโปรตีนจากสัตว์  เช่น  ใช้ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่เรียกว่า  โปรตีนเกษตร  ที่ผลิตในรูปของเนื้อเทียม  และโปรตีนจากสาหร่ายสีเขียว  เป็นต้น
2.โรคขาดวิตามิน
นักเรียนคงได้ทราบมาแล้วว่า  นอกจากร่างกายจะต้องการสารอาหารประเภทโปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  และไขมันแล้ว  ยังต้องการสารอาหารประเภทวิตามิน ( และแร่ธาตุ )  อีกด้วยเพื่อช่วยทำให้ร่างกายสมบูรณ์ขึ้น  คือ  ช่วยควบคุมให้อวัยวะต่าง ๆ ทำหน้าที่ได้ตามปกติถึงแม้ร่างกายจะต้องการสารอาหารประเภทนี้ในปริมาณน้อยมาก  แต่ถ้าขาดไปจะทำให้ร่างกายไม่สมบูรณ์และเกิดโรคต่าง ๆ ได้  โรคขาดวิตามินที่พบในประเทศไทยส่วนมากเป็นโรคที่เกิดจากการขาดวิตามินเอ  วิตามินบีหนึ่ง  วิตามินบีสอง  และวิตามินซี  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
2.1.โรคขาดวิตามินเอ   เกิดจากอาหารที่มีไขมันต่ำและมีวิตามินเอน้อยคนที่ขาดวิตามินเอ  ถ้าเป็นเด็กการเจริญเติบโตหยุดชะงัก  สุขภาพอ่อนแอ  ผิวหนังหยาบแห้งมีตุ่มสาก ๆ เหมือนหนังคางคกเนื่องจากการอักเสบบริเวณก้น  แขน  ขา  ข้อศอก  เข่า  และหน้าอก  นอกจากนี้จะมีอาการอักเสบในช่องจมูก  หู  ปาก  ต่อมน้ำลาย  เยื่อบุตาและกระจกตาขาวและตาดำจะแห้ง   ตาขาวจะเป็นแผลเป็นที่เรียกว่า  เกล็ดกระดี่   ตาดำขุ่นหนาและอ่อนเหลวถ้าเป็นรุนแรงจะมีผลทำให้ตาบอดได้  ถ้าไม่ถึงกับตาบอดก็อาจจะมองไม่เห็นในที่สลัวหรือปรับตาในความมืดไม่ได้  เรียกว่า  ตาฟาง  หรือ  ตาบอดกลางคืน
 รูป     โรคตาเป็นเกล็ดกระดีที่เกิดจากการขาดวิตามินเอ
การรักษาและป้องกันโรคขาดวิตามินเอ   ทำได้โดยการกินอาหารที่มีไขมันและอาหารจำพวกผลไม้  ผักใบเขียว  ผักใบเหลือง  เช่น  มะละกอ  มะม่วงสุก  ผักบุ้ง  คะน้า  ตำลึง  มันเทศ  ไข่  นม  สำหรับทารกควรได้กินอาหารเสริมที่ผสมกับตับหรือไข่แดงบด
2.2.โรคขาดวิตามินบีหนึ่ง  เกิดจากการกินอาหารที่มีวิตามินบีต่ำและกินอาหารที่ไปขัดขวางการดูดซึมวิตามินบีหนึ่ง  คนที่ขาดวิตามินบีหนึ่งจะเป็นโรคเหน็บชาซึ้งจะมีอาการชาทั้งมือและเท้า   กล้ามเนื้อแขนและขาไม่มีกำลัง  ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการบวมร่วมด้วย  ถ้าเป็นมากจะมีอาการใจสั่นหัวใจโตและเต้นเร็ว  หอบ  เหนื่อย  และอาจตายได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที
 
 รูป  ผู้ป่วยเป็นโรคเหน็บชาเนื่องจากการขาดวิตามินบีหนึ่ง
 การรักษาและป้องกันโรคขาดวิตามินบีหนึ่ง  ทำได้โดยการกินอาหารที่มีวิตามินบีหนึ่งให้เพียงพอและเป็นประจำ   เช่น  ข้าวซ้อมมือ  ตับ  ถั่วเมล็ดแห้ง  และเนื้อสัตว์  และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำลายวิตามินบีหนึ่ง  เช่น  ปลาร้าดิบ  หอยดิบ  หมาก เมี่ยง  ใบชา  เป็นต้น
 2.3.โรคขาดวิตามินบีสอง  เกิดจากการกินอาหารที่มีวิตามินบี สองไม่เพียงพอ  คนที่ขาดวิตามินบีสองมักจะเป็นแผลหรือรอยแตกที่มุมปากทั้งสองข้างหรือซอกจมูกมีเกล็ดใสเล็ก ๆ ลิ้นมีสีแดงกว่าปกติและเจ็บ  หรือมีแผลที่ผนังภายในปากรู้สึกคันและปวดแสบปวดร้อนที่ตา  อาการเหล่านี้เรียกว่า  เป็นโรคปากนกกระจอก  คนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการ  อ่อนเพลีย  เบื่ออาหาร  และอารมณ์หงุดหงิด


 
 รูป   โรคปากนกกระจอกเนื่องจากการขาดวิตามินบีสอง
 การรักษาและป้องกันโรคขาดวิตามินบีสอง  ทำได้โดยการกินอาหารที่มีวิตามินบีสองให้เพียงพอและเป็นประจำ  เช่น  นมสด  นมปรุงแต่ง  นมถั่วเหลือง  น้ำเต้าหู้  ถั่วเมล็ดแห้งข้าวซ้อมมือ  ผัก  ผลไม้  เป็นต้น
 2.4.โรคขาดวิตามินซี  เกิดจากการกินอาหารที่มีวิตามินซีไม่เพียงพอ  คนที่ขาดวิตามินซีมักจะเจ็บป่วยบ่อย  เนื่องจากมีความต้านทานโรคต่ำ  เหงือกบวมแดง  เลือดออกง่าย  ถ้าเป็นมากฟันจะโยกรวน  และมีเลือดออกตามไรฟันง่าย  อาการเหล่านี้เรียกว่าเป็น  โรคลักปิดลักเปิด
 
 รูป   โรคลักปิดลักเปิด เนื่องจากการขาดวิตามินซี
 การรักษาและป้องกันโรคขาดวิตามินซี   ทำได้โดยการกินอาหารที่มีวิตามินซีให้เพียงพอและเป็นประจำ  เช่น  ส้ม  มะนาว  มะขามป้อม  มะเขือเทศ  ฝรั่ง  ผักชี  เป็นต้น
 จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า  โรคขาดวิตามิน  ส่วนมากมักจะเกี่ยวกับวิตามินประเภทละลายได้ในน้ำ  เช่น  วิตามินบี  วิตามินอี  และวิตามินเค  มักจะไม่ค่อยเป็นปัญหาโภชนาการ   ทั้งนี้เพราะวิตามินเหล่านี้บางชนิดร่างกายของคนเราสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเเองได้  เช่น  วิตามินดี  ผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้งและได้รับแสงอาทิตย์เพียงพอ  รังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์สามารถเปลี่ยนสารที่เป็นไขมันชนิดหนึ่งใต้ผิวหนังที่เป็นวิตามินดีได้  วิตามินเค  ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้จากแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่
 3.โรคขาดแร่ธาตุ
แร่ธาตุนอกจากจะเป็นสารอาหารที่ช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำหน้าที่ปกติแล้ว  ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายอีกด้วย  เช่น  เป็นส่วนประกอกบของกระดูกและฟัน  เลือด  กล้ามเนื้อ  เป็นต้น  ดังที่กล่าวแล้ว  ดังนั้น  ถ้าร่างกายขาดแร่ธาตุก็อาจจะทำให้การทำหน้าที่ของอวัยวะผิดปกติ  และทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้  ดังนี้
                           3.1.โรคขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส  เกิดจากการกินอาหารที่มีแคลเซียมยมและฟอสฟอรัสไม่เพียงพอ  คนที่ขาดแคลเซียมและฟอสฟอรัสจะเป็นโรคกระดูกอ่อน  มักเป็นกับเด็ก  หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร  ทำให้
ข้อต่อกระดูกบวม  ขาโค้งโก่ง  กล้ามเนื้อหย่อน  กระดูกซีโครงด้านหน้ารอยต่อนูน  ทำให้หน้าอกเป็นสันที่เรียกว่าอกไก่   ในวัยเด็กจะทำให้การเจริญเติบโตช้าโรคกระดูกอ่อนนอกจากจะเกิดจากการขาดแร่ธาตุทั้งสองแล้ว  ยังเกิดจากการได้รับแสงแดดไม่เพียงพออีกด้วย
 
 รูป   โรคกระดูกอ่อน เนื่องจากการขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส
                            การรักษาและป้องกันโรคขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส  ทำได้โดยการกินอาหารที่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสให้มากและเป็นประจำ  เช่น  นมสด  ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก  ผักสีเขียว  น้ำมันตับปลา เป็นต้น
                           3.2.โรคขาดธาตุเหล็ก   เกิดจากการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอหรือเกิดจากความผิดปกติในระบบการย่อยและการดูดซึม  คนที่ขาดธาตุเหล็กจะเป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากร่างกายสร้างเฮโมโกลบินได้น้อยกว่าปกติ  ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย  เบื่ออาหาร   มีความต้านทานโรคต่ำ  เปลือกตาขาวซีด  ลิ้นอักเสบ  เล็บบางเปราะ  และสมรรถภาพในการทำงานเสื่อม
  
                                    รูป    ผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจางและมีลิ้นอักเสบและซีด
                             การรักษาและป้องกันโรคขาดธาตุเหล็ก  ทำได้โดยการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กและโปรตีนสูงเป็นประจำ   เช่น  ตับเครื่องในสัตว์  เนื้อสัตว์  ผักสีเขียว  เป็นต้น
                           3.3.โรคขาดธาตุไอโอดีน  เกิดจากการกินอาหารที่มีไอโอดีนต่ำหรืออาหารที่มีสารขัดขวางการใช้ไอโอดีนในร่างกาย  คนที่ขาดธาตุไอโอดีนจะเป็นโรคคอพอก  และต่อมไทรอยด์บวมโต  ถ้าเป็นตั้งแต่เด็กจะมีผลต่อการพัฒนาทางร่างกายและจิตใจ  ร่างกายเจริญเติบโตช้า  เตี้ย  แคระแกร็น  สติปัญญาเสื่อม  อาจเป็นใบ้หรือหูหนวกด้วย  คนไทยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นโรคนี้กันมาก  บางทีเรียกโรคนี้ว่า  โรคเอ๋อ
  
      รูป     ผู้ป่วยเป็นโรคคอพอกเนื่องจากการขาดธาตุไอโอดีน
                            การรักษาและป้องกันโรคขาดธาตุไอโอดีน  ทำได้โดยการกินอาหารทะเลให้มาก  เช่น  กุ้ง  หอย  ปู  ปลา  เป็นต้น  ถ้าไม่สามารถหาอาหารทะเลได้ก็ควรบริโภคเกลืออนามัย  ซึ่งเป็นเกลือสมุทรผสมไอโอดีนที่ใช้ในการประกอบอาหารแทนได้  นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารขัดขวางการใช้ไอโอดีน  เช่น  พืชตระกูลกระหล่ำปลี  ซึ่งก่อนกินควรต้มเสียก่อน
                            โดยกล่าวสรุป  การขาดสารอาหารประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลาย ๆ ประเภท  นอกจากจะมีผลทำให้ร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงและเป็นโรคต่าง  ๆ ได้แล้ว  ยังทำให้การดำรงชีวิตเป็นไปด้วยความยากลำบาก  อีกทั้งยังมีผลกระทบกระเทือนต่อสุขภาพของประชากรโดยตรง  ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาของประเทศในที่สุด  ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนควรเลือกกินอาหารอย่างมีคุณภาพ  ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารที่มีราคาแพงเสมอไป  แต่ต้องการกินอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วนในปริมาณที่พอเพียงกับร่างกายต้องการในแต่ละวัน  นั่นคือ  กินให้ดี  แล้วก็จะส่งผลถึงสุขภาพความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย  ซึ่งก็คือ  อยู่ดี  ด้วย
                          อย่างไรก็ตาม  โรคที่เกี่ยวกับสารอาหารไม่ใช่มีเฉพาะโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหารเท่านั้น  การที่ร่างกายได้รับสารอาหารบางประเภทมากเกินไปก็ทำให้เกิดโรคได้เช่นเดียวกัน  โรคที่เกิดจากการได้รับสารอาหารมากเกินไปความต้องการของร่างกายมีหลายโรคที่พบเห็นบ่อย  คือ  โรคอ้วน
                            โรคอ้วน  เป็นโรคที่เกิดจากการกินอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย  ทำให้มีการสะสมของไขมันภายในร่างกายเกินความจำเป็น  คนที่เป็นโรคอ้วนอาจมีอาการอื่น ๆ ตามมา  เช่น  สภาพจิตใจไม่ปกติ  ความต้านทานโรคต่ำ  ติดโรคง่าย  เป็นโรคหัวใจ  เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  เป็นต้น
 
รูป   ผู้ป่วยเป็นโรคอ้วน
                            ปัจจุบันสภาวะสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป  โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ทุกคนต้องทำงานแข่งกับเวลา  ประกอบกับการมีค่านิยมการบริโภคอาหารแบบตะวันตก  เช่น  พิซซ่า  แซนด์วิช  มันฝรั่งทอด  ไก่ทอด  เป็นต้น  จึงทำให้ได้รับไขมันจากสัตว์ที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวและคอเลสเทอรอลสูง  ดังนั้นนักเรียนควรใช้ความรู้เกี่ยวกับอาหารที่ศึกษามาให้ประโยชน์ต่อตนเอง  โดยการเลือกกินอาหารที่มีไขมันให้พอเหมาะเพื่อป้องกันโรคอ้วน  โรคไขมันและคอเลสเทอรอลในเลือดสูง  ซึ่งจะมีผลต่อโรคอื่น ๆ ต่อไป  นอกจากนี้การออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยรักษาและป้องกันโรคอ้วนได้ถ้าอ้วนมาก ๆ ควรปรึกษาแพทย์  อย่าใช้ยา  สบู่  ครีม  หรือเครื่องมือลดไขมัน  ตลอดจนการกินยาลดความอ้วน  เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
แหล่งที่มา   www.kr.ac.th

สารพิษในอาหาร

สารเคมีอันตรายที่ปนเปื้อนในอาหาร
บอแรกซ์ (Borax)   บอแรกซ์     เป็นสารเคมีที่เป็นเกลือของสารประกอบโบรอน ที่มีชื่อเรียกทางเคมีว่า โซเดียม บอเรต ( sodium borate )   โซเดียมเตตรา บอเรต ( sodium tetraborate ) โซเดียม ไบบอเรต ( sodium biborate ) ฯลฯ หรือในทางการค้า อาจเรียกชื่อว่า น้ำประสานทอง ผงกรอบ ผงเนื้อนิ่ม สารข้าวตอก ผงกันบูด และเม่งแซ หรือเพ่งแซ มีสูตรโครงสร้างทั่วไปทางเคมีคือ   Na 2B 4O 7   10H 2O
 คุณสมบัติของบอแรกซ์
         เป็นผลึกรูปโมโนคลินิก ( monoclinic ) ไม่มีกลิ่น สิขาวบริสุทธิ์ ความถ่วงจำเพาะ (specific gravity ) = 1.73 จุดหลอมเหลว 71 องศาเซลเซียส จุดเดือด 320 องศาเซลเซียส   ไม่ติดไฟ มีกลิ่นฉุนเมื่อละลายในน้ำร้อน   ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี   ละลายในน้ำเย็นได้สารละลายใส ความสามารถในการละลายน้ำ 5.1 กรัม/ 100มิลลิลิตร ที่   20 องศาเซลเซียส   สารละลายมี PH เป็นด่าง ประมาณ 9.5 ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการซักล้างและทำความสะอาด นอกจากนั้นยังช่วยยับยั้งขบวนการเมตาโบลิซึมของสารอินทรีย์หลายชนิด จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำยาทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค น้ำยาฟอกขาว คลอรีน น้ำยาซักรีด ยาฆ่าแมลงพวกมด แมลงสาบ ยาฆ่าเชื้อราและยาปราบวัชพืช   นอกจากนั้นยังนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์   เช่น ยาล้างตา น้ำยาบ้วนปาก และอื่นๆ เนื่องจากมีสรพคุณฆ่าเชื้อโรคแลแบคทีเรียอย่างอ่อน ปัจจุบันจึงมีการแอบนำเอาบอ แรกซ์มาใช้เป็นสารกันเสียในกรรมวิธีและส่วนผสมของน้ำยาเตมีในงานหลายชนิด กาว สำหรับงานวาดและงานปั้น โคลนแต่งสีแต่งกลิ่นในงานศิลปะเด็ก การเก็บรักษาดอกไม้สด และผลิตดอกไม้แห้ง   รมทั้งการปรับสภาพ pH หลังการ ดองสต้าฟสัตว์ให้คงสภาพเหมือนมีชีวิต
            บอ แรกซ์มีความเป็นพิษต่อเซลล์ สามารถรวมตัวกับคาร์โบไฮเดรต ไกลโคโปรตีน หรือไกล โคไลปิด ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผิวเซลล์ทุกชนิด หากมีอาการแพ้จะทำให้ผิวหนังแห้ง มีผื่นตามตัว ผิวหนังเป็นจ้ำ คล้ายห้อเลือด หมดสติและตายได้  
กลไกการทำงานและผลของบอแรกซ
            จะทำให้ระดับฟอสฟอรัสในสมองและตับลดต่ำลง มีผลต่อการยับยั้ง oxidoreductase enzyme   และ serine protease enzyme             เพิ่มความเข้มข้นของ RNA ในตับและสมอง   มีผลต่อระบบประสาท่าวนกกลาง ตับ ไต และเยื่อบุอวัยวะย่อยอาหาร ทำให้ความดันลดลง การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน สมองตื้อ มีอาการบวมช้ำ ฮีโมโกลบินลดต่ำลง ไตเสื่อม และสมรรถทางเพศลดต่ำลง ผิวหนังแดง ไตพิการ และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เสียชีวิตในผู้ใหญ่จากการได้รับสารบอ แรกซ์ 5- 20 กรัม และเด็กทารกหากได้รับสารบอ แรกซ์น้อยกว่า 5 กรัม   ก็ช็อค หรือตายได้
การนำบอแรกซ์มาใช้ในอาหาร
เนื่องจากสารบอ แรกซ์ ทำให้อาหารมีลักษณะ หยุ่นกรอบ และมีคุณสมบัติเป็นวัตถุกันเสียอยู่ด้วย จึงมีการนำมาใช้ผลิตอาหารประเภทลูกชิ้น หมูยอ ทอดมัน   ไส้กรอก แป้งกรุบ ลอดช่อง ผงวุ้น ทับทิมกรอบ มะม่วงดอง ผักผลไม้ดอง และยังพบว่ามีการนำเอาบอ แรกซ์ไปละลายในน้ำแล้วทาที่เนื้อหมู เนื้อวัว เพื่อให้ดูสด ไม่บูดเน่าก่อนเวลา นอกจากนี้ยังพบว่ามีการปลอมปนในผงชูรส เนื่องจากมีลักษณะเป็นผลึกเล็กๆเละเป็น ผงซึ่มมีสีขาวคล้ายเศษของผงชูรส  
ขนาดของบอแรกซ์ที่เป็นอันตราย
  • ขนาดที่ทำให้เกิดพิษ 5 – 10 กรัม ในผู้ใหญ่
  • ขนาดที่ทำให้ตายได้ 15 – 30 กรัม ในผู้ใหญ่
  • ขนาดที่ทำให้เกิดพิษและตาย 4.5 – 1.4 กรัมในเด็ก ซึ่งการตายจะเกิดขึ้นภายใน 2 – 3 วัน
การขจัดพิษ
  • จากกระเพาะอาหาร โดยการทำให้คนไข้อาเจียน ถ้าไม่อยู่ในภาวะโคม่า เคยมีอาการชักหรือมีความผิดแกติของการขย้อน ถ้าคนไข้โคม่าต้องทำการล้วงท้อง การใช้  Activated charcoal ในการกำจัดพิษ ไม่เกิดประโยชน์ และไม่ได้ช่วยดูดซับสารบอ แรกซ์เท่าที่ควร อาจใช้ยาระบายช่วยกำจักกรด บอร์ริค ที่ค้างอยู่ในทางเดินอาหาร เช่น ใช้ แมกนีเซียม ซัลเฟต 30 กรัม ในผู้ใหญ่ และ 250 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในเด็ก.
  • จากผิวหนัง โดยการล้างบริเวณผิวหนังที่ถูกสารหลายๆครั้ง ด้วยน้ำสะอาด และสบู่อ่อนๆ
  • จากดวงตา ใช้น้ำยาล้างตาอย่างน้อย 20 นาที หากยังระคายเคือง และเจ็บปวดให้รีบพบแพทย์
ฟอร์มาลิน
            สารละลาย Formaldehyde หรือ Formalin หรือที่รู้จักกันดีในนาม น้ำยาดองศพ ประกอบด้วยก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ประมาณร้อยละ 37 – 40 โดยน้ำหนักในน้ำ และมีเมธานอลปนอยู่ด้วยปริมาณร้อยละ 10 – 15 ลักษณะทั่วไปเป็นของเหลวใส ไม่มีสี แต่กลิ่นฉุนเฉพาะตัวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และทางการแพทย์ดังนี้
  • ด้านอุตสาหกรรม   :   ใช้ผลิตภัณฑ์   พลาสติก   สีย้อม   สิ่งทอ   และรักษาผ้าไม่ให้ยับหรือ ย่น
  • ด้านการแพทย์   :   ใช้ในการเก็บรักษา   Anatomical   specimens   ดองศพ   เนื่องจากช่วยให้เซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ   คงความสดอยู่นาน   ใช้ทำความสะอาดห้องผู้ป่วย   เครื่องมือแพทย์
  • ด้านเกษตรกรรม   :   ใช้ป้องกันและกำจัดโรคพืชที่เกิดจากจุลินท รีย์   ป้องกันผลผลิตทางการเกษตรระหว่างขนส่งและเก็บรักษา   เช่น   ที่ความเข้มข้น   0.004%   จะช่วยป้องกันเชื้อราในข้าว โอ๊ต, ข้าวสำลี   และใช้ป้องกันแมลงในธัญพืชหลักการเก็บเกี่ยว
ผลกระทบต่อสุขภาพ
            ฟอร์มาลินเป็นสารก่อมะเร็ง   หากได้รับจากการบริโภคอาหารที่สารดังกล่าวตกค้างอาจทำให้เกิดอาการระคาย เคืองต่อระบบทางเดินอาหาร   ปวดท้องรุนแรง   อาเจียน   ท้องเสีย   หมดสติและเสียชีวิต   นอกจากนั้นยังทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง   ตาและจมูก     
สีผสมอาหาร
            อันตรายที่แผงมากับความงามสะดุดตานี้   อาจจะทำให้ท่านมีสุขภาพลดลง   โดยปกติอาหารที่ใส่สีไม่ได้หมายความว่าจะมีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น   เพราะจุดประสงค์เพียงต้องการให้สะดุดตาผู้ซื้อเท่านั้น   และสีที่ใช้ส่วนใหญ่มักจะเป็นสีที่สังเคราะห์ซึ่งมีคุณสมบัตินานกว่าสีชนิด ที่สกัดมาจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ   จุดอันตรายจะอยู่ที่การนำสีชนิดที่ไม่ใช่สีผสมอาหารมาใช้   และโดยมากมักจะเป็นพวกสีย้อมผ้า   ผู้บริโภคจึงมีโอกาสที่จะได้รับโลหะหนัก   เช่น   สารแค ดเมี่ยม   ปรอท   และสารตะกั่ว   ที่เจือปนมากับสีชนิดนี้ด้วย
ขนมใส่สี
            อาจเกิดจากสีย้อมผ้า   หรือสีย้อมกระดาษ   การเลือกซื้อควรเลือกซื้อขนมที่มีสีอ่อนๆไม่ฉูดฉาดหรือมีสีเข้มเกินไป   เช่น   สีแดงจากแค รอทหรือถั่วแดง   สีน้ำเงินจากอัญชัน   สีดำจากถั่วดำหรือจากมะพร้าวเผาไฟ   ขนมที่บรรจุอยู่ในภาชนะที่ใส่สารป้องกันความชื้น   จะต้องมีเครื่องหมาย   อย.   รับรองคุณภาพ
สีย้อมผ้า
            อาหารที่เสี่ยง   ได้แก่   ปลาแห้ง   กุ้งแห้งย้อมสี   ลูกชิ้นใส่สี   กะปิใส่สี   แหนม   เนื้อเค็มใส่สี   ไก่สดย้อมสี   ขนมเค้กใส่สี   ลูกชุบ   ข้าวเกรียบใส่สี   น้ำหวานใส่สี   ผลไม้ดองหรือแช่อิ่ม
            อันตรายต่อผู้บริโภค   สีย้อมผ้าจะมีโลหะในปริมาณสูง   เช่น   สารตะกั่ว   สารหนู   โดยสารตะกั่วจะมีพิษต่อระบบประสาท   อาจทำให้เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้   ส่วนสารหนู   จะสะสมอยู่ในกล้ามเนื้อกระดูก   และผิวหนัง   ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง   เกิดโลหิตจาง   นอกจากนี้สารบางชนิดยังมีผลต่อการตกค้างของเม็ดเลือดแดง   การได้รับสีย้อมผ้าในปริมาณน้อย   แต่เป็นระยะเวลานาน   อาจมีผลทำให้เกิดเนื้องอกหรือมะเร็งที่อวัยวะในระบบทางเดินอาหารและกระเพาะ ปัสสาวะได้
การป้องกันเพื่อความปลอดภัย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่สี   หรือย้อมสี
  • บริโภคอาหารที่ใช้สีจากธรรมชาติ   อาทิ   สีเขียวจากใบเตย
  • หากหลีกเลี่ยงไม่ได้   ควรบริโภคอาหารซึ่งใส่สีสังเคราะห์ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ผสมอาหารเท่านั้น
สารฟอกขาว
            สารฟอกขาว ( sodium   hydrosulfite)   คือสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสีของอาหารไม่ให้เกิดสี น้ำตาลเมื่ออาหารถูกความร้อนหรือถูกหั่นแล้ววางไว้ให้สัมผัสอากาศ   และยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์   รา   และแบคทีเรีย
การนำไปใช้      สารฟอกขาวสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและอื่นๆ   ดังนี้
                        -อุตสาหกรรมอาหาร   ใช้เป็นวัตถุกันเสียในลูกกวาด   วุ้นเส้น   ไวน์   เบียร์
                        -อุตสาหกรรมอื่นๆ   ใช้ผสมในน้ำยาอัดรูป   ฟอกสีผ้า   กระดาษ   สบู่   ย้อมหนัง
ผลกระทบต่อสุขภาพ
            เมื่อร่างกายได้รับสารฟอกขาวเข้าไปในปริมาณมากจะทำลายวิตามินบี   1    ทำให้เกิดอาการหายใจขัด ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง   อาเจียน   อุจจาระร่วง   แน่นหน้าอก   ผิวหนังอักเสบ   ในรายที่แพ้อาจเกิดลมพิษ   ช็อค   หมดสติ   และเสียชีวิตได้
คำแนะนำในการเลือกซื้อของผู้บริโภค
            สารฟอกขาวพบมากในอาหารที่มีสีขาวนวลผิดปกติ   เช่น   ขิงซอย   ขิงดอง   ถั่วงอก   ทุเรียนกวน   ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรเลือกซื้ออาหารที่มีสีใกล้เคียงธรรมชาติ   และควรล้างวัตถุดิบก่อนที่จะนำมาปรุงอาหารด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง   หรือ   การปรุงอาหารให้สุกจะช่วยลดสารฟอกขาวที่ตกค้างอยู่ได้
แหล่งที่มา  www.arts.kmutt.ac.th

ผู้ติดตาม