เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน คิดดี ทำดี จริงใจต่อทุกคน

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ธาตุและสารประกอบ

ธาตุและสารประกอบ

ธาตุ (Element)  หมายถึง  สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบอะตอมของธาตุเพียงชนิดเดียวเท่านั้น  ธาตุไม่สามารถจะนำมาแยกสลายให้กลายเป็นสารอื่นโดยวิธีการทางเคมี  แต่อาจแยกออกโดยวิธีนิวเคลียร์ 
          ธาตุเป็นองค์ประกอบหลักของสารทุกชนิด ธาตุเกือบทุกชนิดนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาคันพบแล้ว ปัจจุบันมีการค้นพบธาตุแล้วไม่ต่ำกว่า 119 ธาตุ เป็นธาตุที่อยู่ในธรรมชาติ  89 ธาตุ ที่เหลือเป็นธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น ธาตุบางธาตุอาจค้นพบแล้ว แต่ไม่มีการเปิดเผยเพราะเป็นประโยชน์ทางธุรกิจ
ธาตุแบ่งออกได้เป็น 3 สถานะ
1.  ของแข็ง เช่น ตะกั่ว (Pb), เงิน (Ag) และดีบุก (Sn) เป็นต้น
2.  ของเหลว ได้แก่ โบรมีน (Br2) และปรอท (Hg) เป็นต้น
3.  ก๊าซ เช่น  ไนโตรเจน (N2), ฮีเลียม (He) และออกซิเจน (O2) เป็นต้น
ในภาวะปกติ ธาตุบางชนิดดำรงอยู่สถานะของแข็ง บางชนิดเป็นของเหลว และบางชนิดเป็นก๊าซ  เราสามารถแบ่งสมบัติของธาตุทั้งหมดออกได้เป็นสามพวกใหญ่ๆ คือ โลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ
   การที่เราจำแนกธาตุทั้งหลายออกเป็นโลหะกับอโลหะนั้น ก็เนื่องจากธาตุต่างๆ มีสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกัน  แต่ก็มีสมบัติบางประการเหมือนกันหรือคล้ายกัน ซึ่งพอจะแยกออกเป็นสามพวกได้ดังนี้
          1. โลหะ (metal) เป็นกลุ่มธาตุที่มีสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ นำความร้อนที่ดี เหนียว มีจุดเดือดสูง ปกติเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง (ยกเว้น ปรอท) เช่น แคลเซียม อะลูมิเนียม เหล็ก เป็นต้น
          2. อโลหะ (non-metal) เป็นกลุ่มธาตุที่มีสมบัติไม่นำไฟฟ้า มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เปราะบาง และมีการแปรผันทางด้านคุณสมบัติทางกายภาพมากกว่าโลหะ เช่น ออกซิเจน กำมะถัน ฟอสฟอรัส เป็นต้น
        3. กึ่งโลหะ (metalloid) เป็นกลุ่มธาตุที่มีสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะและอโลหะ เช่น ธาตุซิลิคอน และเจอเมเนียม มีสมบัติบางประการคล้ายโลหะ เช่น นำไฟฟ้าได้บ้างที่อุณหภูมิปกติ และนำไฟฟ้าได้มากขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น เป็นของแข็ง  เป็นมันวาวสีเงิน จุดเดือดสูง แต่เปราะแตกง่ายคล้ายอโลหะ

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

โครงการ คุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษา พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม สร้างความเป็นไทย


โครงการ                           คุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษา พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม สร้างความเป็นไทย
แผนงาน                            งานบริหารงานทั่วไป
สนองกลยุทธ์โรงเรียน        กลยุทธ์ที่ 2 การส่งเสริมคุณธรรม ความเป็นไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
                                           พอเพียงสู่การปฏิบัติจริง
สนองกลยุทธ์ สพป.พล.3
สนองมาตรฐาน  สพฐ.        มาตรฐานที่ 1  ข้อที่  1.1.6
ผู้รับผิดชอบ โครงการ        นางวาสนา  ธีระเพ็ญแสง   และคณะ
ลักษณะโครงการ   โครงการต่อเนื่อง
หน่วยงานที่รับผิดชอบ      โรงเรียนบ้านป่าสัก(ทศพลอนุสรณ์)
ระยะเวลาดำเนินการ         1  มิถุนายน  2561  -  31  มีนาคม  2562

1.  หลักการและเหตุผล
               การศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพมีความสามารถที่จะปรับตัวได้อย่างรู้          เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความเหมาะสมตามกาลเวลาและของสังคมไทย             ดังปรากฏจากนโยบายทางการปฏิรูปการศึกษาให้ความสำคัญสูงสุดกับการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง   มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้คนสามารถพัฒนาสู่การเป็นคนที่สมบูรณ์ คือ เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขอย่างแท้จริง
                ดังนั้น โรงเรียนบ้านป่าสัก(ทศพลอนุสรณ์)จึงได้จัดโครงการคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาพัฒนาผู้เรียน      ให้มีคุณธรรม จริยธรรมสร้างความเป็นไทย เพื่อให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ และหลักการในการจัดการศึกษา       มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์โดยยึดอัตลักษณ์ของสถานศึกษา 3 ข้อ คือ               การมีระเบียบวินัย  พอเพียง และจิตอาสา
2.  วัตถุประสงค์
2.1  เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร
2.2  เพื่อให้รักเรียนทุกชั้นเรียนมีคุณธรรมประจำชั้น
2.3  เพื่อให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัย พอเพียง และ มีจิตอาสา
2.4  เพื่อให้ผู้เรียนมีค่านิยม 12 ประการ ตามเกณฑ์ สพฐ




3.  เป้าหมาย
3.1  ด้านปริมาณ
3.1.1  ผู้เรียนร้อยละ  80 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร
3.1.2  ร้อยละ 100  ทุกชั้นเรียนมีโครงการคุณธรรมประจำชั้น
3.1.3 ผู้เรียนร้อยละ  80 มีความเอื้ออาทรผู้อื่นมีระเบียบวินัย พอเพียงและมีจิตอาสา
3.1.3  ผู้เรียนร้อยละ  80 มีค่านิยม 12 ประการผ่านเกณฑ์ สพฐ
3.2  ด้านคุณภาพ
ผู้เรียนโรงเรียนบ้านป่าสัก(ทศพลอนุสรณ์)ทุกคนได้รับการพัฒนาให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม
 และค่านิยมที่พึงประสงค์  มีระเบียบวินัย  พอเพียง และ จิตอาสาพร้อมทั้งมีค่านิยม 12  ประการ  ในทุกกิจกรรม
ตามที่ทุกชั้นได้จัดทำโครงการ  
4.  วิธีดำเนินการ
4.1 ขั้นเตรียมการ (P)
4.1.1  ศึกษานโยบายของโรงเรียน  เขตพื้นที่การศึกษา และ สพฐ.  ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
กับโครงการ
                     4.1.2  ศึกษาผลการดำเนินโครงการคุณธรรมจริยธรรม
                     4.1.3  ศึกษาบริบทและสภาพความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ
                     4.1.4  จัดทำโครงการนำเสนอต่อฝ่ายบริหาร
4.2  ขั้นดำเนินการ (D)
                     4.2.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการและมอบหมายภาระงาน
                     4.2.2  ดำเนินงานตามโครงการคุณธรรมในสถานศึกษา
1. โครงการรู้สำนึก รู้หน้าที่ ชีวีมีสุข
     - ชั้นอนุบาล 2   โครงการรองเท้าเข้าแถว
     - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โครงการห้องสวยด้วยมือเรา
     - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โครงการยิ้มใส ไหว้สวย
     - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  รู้รักษ์ รู้หน้าที่ ประพฤติดีเป็นแบบอย่าง

2. โครงการตามรอยพ่อ อยู่อย่างพอเพียง
                                     - ชั้นอนุบาล 3   โครงการออมวันนี้ เป็นเศรษฐีวันหน้า
                                                   - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โครงการประหยัดดินสอ ตามรอยพ่อของหนู
                                                    - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โครงการลดพลังงาน ผ่านมือเรา
    - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โครงการออมวันละนิด ชีวิตเถ้าแก่น้อย 
3. โครงการร่วมใจผูกมิตร ร่วมจิตอาสา
- ชั้นประมัธยมศึกษาปีที่ 1   โครงการบริเวณสดใสด้วยใจอาสา
- ชั้นประมัธยมศึกษาปีที่ 2   โครงการยุวชนคนรักษ์บวร
- ชั้นประมัธยมศึกษาปีที่ 3   โครงการอสม.น้อยร้อยดวงใจ
- กิจกรรมส่งเสริมสวดมนต์วันศุกร์
 4.3 ขั้นนิเทศติดตามผล (C)
ผู้รับผิดชอบโครงการฯ   นิเทศติดตามการดำเนินงาน และคอยอำนวยความสะดวก
ในการดำเนินกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามภาระงานที่โครงการฯกำหนด
4.4 ขั้นประเมินและรายงานผล (A)
                      4.4.1  สรุปประเมินโครงการฯ
                      4.4.2  จัดทำรายงานโครงการฯ  นำเสนอฝ่ายบริหาร
5.  ผู้เข้าร่วมโครงการฯ
5.1  ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าสัก( ทศพลอนุสรณ์)
5.2  คณะครูโรงเรียนบ้านป่าสัก( ทศพลอนุสรณ์)
5.3  นักเรียนโรงเรียนบ้านป่าสัก( ทศพลอนุสรณ์)
5.4  คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าสัก( ทศพลอนุสรณ์)
5.5  ผู้ปกครองผู้เรียนโรงเรียนบ้านป่าสัก( ทศพลอนุสรณ์)
5.6  ประชาชนในหมู่บ้านเขตบริการของโรงเรียน
5.7  พระสงฆ์วัดป่าสัก และ วัดสวนอธิฐาน
5.8  เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลประจำตำบลมะต้อง




6.  ระยะเวลาดำเนินการ
               1  มิถุนายน  2561  -  31  มีนาคม 2562
7.  สถานที่
               โรงเรียนบ้านป่าสัก( ทศพลอนุสรณ์), วัดป่าสัก, โรงพยาบาลประจำตำบลมะต้อง,และหมู่บ้านเขตบริการของโรงเรียน
8.  งบประมาณในการดำเนินการ
กิจกรรม
งบประมาณ
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
ขั้นเตรียมการ (P)
1.  ศึกษานโยบายของโรงเรียน  เขตพื้นที่
     การศึกษา และ สพฐ. ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
     กับโครงการฯ
2.  ศึกษาผลการดำเนินโครงการฯ
3.  ศึกษาบริบทและสภาพความเป็นไปได้ใน
     การพัฒนาโครงการฯ
4.  จัดทำโครงการฯ นำเสนอต่อฝ่ายบริหาร

-


-
-

-

มิถุนายน. 61


ครูวาสนา ธีระเพ็ญแสง
ครูเบญจวรรณ จุลหงษ์
ครูสุชาดา  ชาวไทย

ขั้นดำเนินการ (D)
1.  ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการฯ  
      และมอบหมายภาระงาน
2.  ดำเนินงานตามโครงการฯ
2.1. โครงการรู้สำนึก รู้หน้าที่ ชีวีมีสุข
- ชั้นอนุบาล 2   โครงการรองเท้าเข้าแถว
- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โครงการห้องสวยด้วยมือเรา - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โครงการยิ้มใส ไหว้สวย
- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  รู้รักษ์ รู้หน้าที่ ประพฤติดีเป็นแบบอย่าง

2.2. โครงการตามรอยพ่อ อยู่อย่างพอเพียง
 - ชั้นอนุบาล 3 โครงการออมวันนี้ เป็นเศรษฐีวันหน้า
 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โครงการประหยัดดินสอ ตามรอยพ่อของหนู
  - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โครงการลดพลังงาน ผ่านมือเรา
 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โครงการออมวันละนิด ชีวิตเถ้าแก่น้อย 
2.3. โครงการร่วมใจผูกมิตร ร่วมจิตอาสา
- ชั้นประมัธยมศึกษาปีที่ 1   โครงการบริเวณสดใสด้วยใจอาสา
- ชั้นประมัธยมศึกษาปีที่ 2  โครงการยุวชนคนรักษ์บวร
- ชั้นประมัธยมศึกษาปีที่ 3   โครงการอสม.น้อยร้อยดวงใจ
2.4 กิจกรรมส่งเสริมสวดมนต์วันพุธ
5,000





มิถุนายน. 60



1
มิถุนายน
2560

-
25
มีนาคม
2561




ครูวาสนา และคณะ





ครูประจำชั้นทุกชั้น
ขั้นนิเทศติดตามผล (C)
       ผู้รับผิดชอบโครงการฯ   นิเทศติดตามการดำเนินงาน และคอยอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามภาระงานที่โครงการฯ กำหนด

-

ตลอดปี

ครูวาสนา และคณะ
ขั้นประเมินและรายงานผล (A)
        1. สรุปประเมินโครงการฯ
2. จัดทำรายงานโครงการฯ  นำเสนอ
           ฝ่ายบริหาร

-
-

มี.ค. 61
มี.ค. 61

นางวาสนา และคณะ

รวมงบประมาณ
      เงินงบประมาณ
      เงินนอกงบประมา

5,000
-


รวมทั้งสิ้น
5,000

9.  การประเมินผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
วิธีการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้
ด้านปริมาณ
1.             ผู้เรียนร้อยละ  80 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร
2.             ร้อยละ100 ทุกชั้นเรียนมีคุณธรรมประจำชั้น
3.             ผู้เรียนร้อยละ  80 มีความเอื้ออาทรผู้อื่นมีระเบียบ   วินัย พอเพียงและมีจิตอาสา
4.             ผู้เรียนร้อยละ  80 มีค่านิยม 12 ประการผ่านเกณฑ์ สพฐ
5.             กิจกรรมการสวดมนต์ทุกวันศุกร์


สัมภาษณ์
สังเกต
ประเมินผล


แบบสัมภาษณ์
แบบสังเกต
แบบประเมินผล

ด้านคุณภาพ
    ผู้เรียนโรงเรียนบ้านป่าสัก(ทศพลอนุสรณ์)ทุกคนได้รับการพัฒนาให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์  มีระเบียบวินัย  พอเพียง และ จิตอาสาพร้อมทั้งมีค่านิยม 12  ประการ  ในทุกกิจกรรมตามที่ทุกชั้นได้จัดทำโครงการ  


ประเมินผล

แบบประเมินผล






10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เรียนโรงเรียนบ้านป่าสัก(ทศพลอนุสรณ์) ได้รับการพัฒนาและเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
ที่พึงประสงค์  มีระเบียบวินัย พอเพียง และมีจิตอาสา พร้อมทั้งมีค่านิยม 12  ประการ ตามเกณฑ์ที่
โรงเรียนและ สพฐ. กำหนด



ลงชื่อ............................... ผู้รับผิดชอบโครงการ         ลงชื่อ................................ ผู้เห็นชอบโครงการ
    (นางวาสนา  ธีระเพ็ญแสง)                                             (นางสาวพจมาลย์  แม่ดี )
   ครูโรงเรียนบ้านป่าสัก(ทศพลอนุสรณ์)                               หัวหน้ากลุ่มบริหารงานทั่วไป    
              


ลงชื่อ.............................................................ผู้อนุมัติโครงการ
                     (นายสุเชษฐ์  เรือนก้อน )
    ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าสัก(ทศพลอนุสรณ์)


ผู้ติดตาม