เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน คิดดี ทำดี จริงใจต่อทุกคน

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แบบทดสอบเรื่องลักษณะทางพันธุกรรม ม. 3

1. พันธุกรรม(Heredity) หมายถึงข้อใด
      ก.  สิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากคนที่รู้จัก
      ข. สิ่งที่ได้รับจากการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ หรือจากรุ่นสู่รุ่น
      ค. สิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษเพียงรุ่นเดียว
      ง. ความผิดปกติของร่างกาย
2. ข้อใดไม่เป็นลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม         
      ก. ถนัดมือขวา       
      ข. ลักยิ้ม                                          
      ค. แผลเป็น                 
      ง. ตาสองชั้น
3. ลักษณะในข้อใดเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม   
     ก.  ตี๋ใหญ่เป็นโจรเหมือนพ่อ                
     ข.  สมใจมีลักยิ้มเหมือนแม่                                 
      ค.  แดงชอบทานไก่ทอดเหมือนพ่อ        
      ง.  สมศรีและแม่ป่วยเป็นโรคกระเพาะ
4. ลักษณะใดเป็นความแปรผันแบบต่อเนื่อง
      ก. มีติ่งหู                 ข. ห่อลิ้นได้                         
     ค. คิ้วห่าง                ง. ความสูง
5. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโครโมโซม
      ก.  ออโทโซมทุกคู่จะมีขนาดเท่ากัน              
      ข. ในเซลล์ร่างกายจะมีโครโมโซม 46 แท่ง
      ค.  โครโมโซมแต่ละคู่จะมีจำนวนยีนต่างกัน        
      ง. เซลล์ไข่หรืออสุจิจะมีโครโมโซม 23 แท่ง
 6. ในเซลล์ของคน ออโตโซมหมายถึงโครโมโซมคู่ที่เท่าใด
      ก. 1                     ข. 23                                        
      ค. 1-22                 ง. 1-23
7. โครโมโซมมีองค์ประกอบเป็นสารประเภทใด
      ก.  ไขมันและโปรตีน                                                
      ข. กรดนิวคลีอิกและไขมัน
      ค.  กรดนิวคลีอิกและโปรตีน                                    
      ง. กรดนิวคลีอิก ไขมัน และโปรตีน
8. โอกาสที่จะได้ลูกสาวมีค่าเท่ากับเท่าใด
      ก. 25%             ข. 50%                                  
       ค. 75 %            ง. 100%

 9. เมนเดลได้ศึกษาเรื่องราวของพันธุกรรม                                                      โดยค้นพบหลักเกณฑ์ในข้อใด
      ก. สิ่งมีชีวิตถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ไปสู่รุ่นหนึ่ง
      ข. เมื่อมีการปฏิสนธิ ทั้งยีนและโครโมโซม                                                        จะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกพร้อมๆ กัน
      ค. โครโมโซมจะแยกกันอยู่อย่างอิสระ                                                         เมื่อมีการปฏิสนธิจะมีการรวมกันของโครโมโซมอีกครั้งหนึ่ง
      ง. ยีนที่อยู่เป็นคู่ๆ ในสิ่งมีชีวิตจะแยกออกจากกัน                                     อย่างอิสระเมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ และจะกลับมา                                    รวมกันอีกครั้งเมื่อมีการปฏิสนธิ
 10. ลักษณะในข้อใดน่าจะนำโดยยีนด้อย
      ก.  พบลักษณะนั้นๆ ในทุกรุ่น                                  
      ข. พบลักษณะนั้นๆ บางชั่วรุ่น
      ค.  คนส่วนมากมีลักษณะนั้นๆ อยู่แล้ว        
      ง. ไม่มีลักษณะใดๆ ที่นำโดยยีนด้อย
11. โรคกลุ่มใดเกิดจากความผิดปกติของออโทโซม
      ก.  ตาบอดสี                
      ข.  ดาวน์ซินโดรม                                    
      ค.  ไคลน์เฟลเตอร์ซินโดรม          
     ง.  เทอร์เนอร์ซินโดรม
12. ข้อใด ไม่ ตรงกับข้อเท็จจริง
      ก. โรคทางพันธุกรรมในมนุษย์ส่วนใหญ่รักษาได้
      ข. ปัจจุบันมนุษย์สามารถตัดต่อยีน
เพื่อผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้
      ค. โรคทางพันธุกรรมในมนุษย์บางครั้ง
พบว่าไม่แสดงอาการให้เห็น
      ง. ลักษณะที่คนส่วนใหญ่มีหรือแสดงออก
คือลักษณะที่ถูกควบคุมโดยยีนเด่น
13.  ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเทคนิคพันธุวิศวกรรม
      ก. เป็นการนำยีนของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันมาต่อกัน 
        ข. เป็นการนำยีนของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดมาต่อกัน
      ค. เป็นการตัดยีนที่ไม่ดีทิ้งไป
      ง. เป็นการเพิ่มจำนวนยีนให้มีมากขึ้นตามที่ต้องการ
14. ข้อใดประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพ
      ก. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช              
      ข. การโคลนนิ่ง
      ค. พืช GMOs                              
      ง. ถูกทุกข้อ
15. ทำไมจึงต้องมีการคัดเลือกพันธุ์
      ก.  เพื่อปรับปรุงพันธ์พืชและสัตว์          
      ข. เพื่อปรับปรุงให้ได้สายพันธุ์ใหม่
      ง. ถูกทั้ง ก และ ข                                                     
      ง. ไมมีข้อถูก
เฉลย
 1.            2.      3.         4.          5.         6.      
   7.         8.         9.          10.       11.       12. ก    
 13.          14.    15.

ประวัติเมนเดล(Biography of Gregor Mendel)

       ประวัติของเมนเดล
 (Biography of Gregor Mendel)




เกรเกอร์ เมนเดล (พ.ศ. 2365-พ.ศ. 2427) บิดาทางพันธุศาสตร์
 เกิดที่เมืองไฮน์เซนดรอฟ ประเทศออสเตรีย เป็นบุตรชายคนเดียว
ในจำนวนพี่น้อง 3 คน ของครอบครัวชาวนาที่ยากจน โดยต่อมา
 เมนเดลได้ไปบวชแล้วได้รับตำแหน่งรับผิดชอบดูแลสวน ในปี พ.ศ. 2390

ผลงานทางพันธุศาสตร์

เกรเกอร์ เมนเดล เผชิญความผิดหวังนับ

20 ปี ที่เขายังคงสอนหนังสือเพื่อชดเชยความผิดหวัง เขาทำงานในสวนของวัดทุกเวลาที่ว่าง

 ที่นั่นมีพันธุ์พืชมากมาย แต่ละชนิดแตกต่างหลากหลายอย่าง ความแตกต่างนี้ ทำให้เกรเกอร์นึกสงสัย 

เขาได้ผสมพันธุ์ถั่วเดียว กันและต่างพันธุ์ เป็นจำนวนแตกต่างถึง 22 ชนิดของต้นถั่ว เพื่อศึกษาลักษณะทั้งหมด 

เป็นเวลารวม 8 ปีเต็มในการทดลองร่วมพันครั้ง พบได้ 3 สิ่ง ดังนี้

·         สิ่งแรก เมื่อผสมพันธุ์ถั่วชนิดต่างกันสองชนิดผลผลิตต่อมาที่ได้เป็นพันธุ์ชนิดเดียว
 ยกตัวอย่าง ถ้าหากเขาผสมพันธุ์ถั่วเมล็ดสีเหลืองกับชนิดเมล็ดสีแดง มันจะผลิตพันธุ์เมล็ดสีเหลืองออกมา
·         ต่อไป เมื่อผสมพันธุ์ต่างชนิดกันของผลผลิตรุ่นแรก รุ่นต่อไปจะมีเมล็ดทั้งสองชนิด
 ในทุกๆสี่ต้นจะมีสามต้นที่มีเมล็ดสีเหลือง และ 1 ต้น ที่มีเมล็ดสีเขียว นี่เป็นเพราะ
ว่าหน่วยถ่ายพันธุ์ที่ผลิตเมล็ดสีเหลืองเป็นหน่วยถ่ายพันธุ์ที่ เด่น คือ โดมิแนนท์ยีน
 หน่วยถ่ายพันธุ์ที่ผลิตเมล็ดสีเขียวเรียกว่า รีเซสซีพยีน หรือหน่วยถ่ายพันธุ์ด้อย
·         สิ่งที่สาม ถ้าหากเขาผสมพันธุ์ถั่วต่างชนิดกันด้วยถั่วสองชนิด หรือมากกว่านั้นที่มีลักษณะแตกต่างกัน
 เขาจะค้นพบกฎข้อที่สาม สมมติว่าเขาผสมพันธุ์ถั่วที่มีเมล็ดเรียบสีเหลืองกับพันธุ์ถั่วที่มีเมล็ด หยาบสีเขียว
 รุ่นแรกเมล็ดเรียบสีเหลืองจะเป็นตัวเด่น ในรุ่นต่อไปจะมีอัตราส่วนเมล็ดเรียบสีเหลือง ส่วน
 ต่อเมล็ดเรียบสีเขียว 3ส่วน เมล็ดหยาบสีเหลือง 3 ส่วน ต่อเมล็ดหยาบสีเขียว 1 ส่วน

ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ของเมนเดล

1.   การถ่ายทอดลักษณะหนึ่งลักษณะใดของสิ่งมีชีวิตถูกควบคุมโดยปัจจัย (fector) 
เป็นคู่ๆ ต่อมาปัจจัยเหล่านั้นถูกเรียกว่า ยีน (gene)
2.    ยีนที่ควบคุมลักษณะต่างๆจะอยู่กันเป็นคู่ๆ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้
3.     ลักษณะแต่ละลักษณะจะมียีนควบคุม 1 คู่ โดยมียีนหนึ่งมาจากพ่อและอีกยีนมาจากแม่
4.    เมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์(gamete) ยีนที่อยู่เป็นคู่ๆจะแยกออกจากกันไปอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์
ของแต่ละเซลล์และ ยีนเหล่านั้นจะเข้าคู่กันได้ใหม่อีกในไซโกต
5.       ลักษณะที่ไม่ปรากฏในรุ่น F1  ไม่ได้สูญหายไปไหนเพียงแต่ไม่สามารถแสดงออกมาได้
6.       ลักษณะที่ปรากฏออกมาในรุ่น F1   มีเพียงลักษณะเดียวเรียกว่า ลักษณะเด่น ( dominant) 
ส่วนลักษณะที่ปรากฏในรุ่น F2  และมีโอกาสปรากฏในรุ่นต่อไปได้น้อยกว่า เรียกว่า ลักษณะด้อย (recessive)
7.       ในรุ่น F2 จะได้ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยปรากฏออกมาเป็นอัตราส่วน เด่น : ด้อย = 3 : 1
อ้างอิง

วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วงจรการไหลเวียนโลหิต

วงจรการไหลเวียนโลหิต    
     วงจรการไหลเวียนโลหิต เริ่มจากหัวใจห้องบนซ้ายรับเลือดที่มี
ปริมาณออกซิเจนสูงจากปอดแล้วบีบตัวดันผ่านลิ้นหัวใจ
ลงสู่หัวใจห้องล่างซ้ายแล้วบีบตัวดันเลือดไปยังส่วนต่างๆ
ของร่างกายและเปลี่ยนเป็นเลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง
หรือเลือดดำไหลผ่านหลอดเลือดดำหัวใจห้องบนขวาแล้วบีบตัวดัน
ผ่านลิ้นหัวใจลงสู่ห้องล่างขวา แล้วกลับเข้าสู่ปอดเพื่อ
แลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแก๊สออกซิเจน

 เป็นวัฎจักรการหมุนเวียนเลือดในร่างกายเช่นนี้ตลอดไป




วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ลักษณะทางพันธุกรรม

ลักษณะทางพันธุกรรม หมายถึงลักษณะบางอย่างที่มีปรากฏอยู่ในรุ่นบรรพบุรุษ
 แล้วถ่ายทอดลักษณะนั้นๆ ให้กับรุ่นลูกหลานต่อๆมา
              
ลักษณะทางพันธุกรรมได้แก่  ลักษณะสีนัยน์ตา สีผม สีผิว ความสูง น้ำหนักตัว สติปัญญา
 สีของดอกไม้ ความถนัด ฯลฯ ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมมียีน(gene)
 เป็นหน่วยควบคุมลักษณะในทางพันธุกรรมทำหน้าที่ ถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่ 
ไปสู่ลูกหลานยีน(gene)มีตำแหน่งอยู่บนโครโมโซม
             ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต จะถูกถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูกหลาน 
 โดยหน่วยพันธุกรรมในเซลล์ที่เรียกว่า ยีนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอ
 แต่ดีเอ็นเอมีทั้งส่วนที่อยู่ในนิวเคลียส และส่วนที่อยู่ใน ไซโทพลาซึม ซึ่งดีเอ็นเอ
ทั้งสองส่วนนี้จะควบคุมและถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ทางพันธุกรรมด้วยแบบแผนที่ต่างกัน
     
ลักษณะพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต นอกจากจะถูกควบคุมด้วยดีเอ็นเอหรือยีน
ในนิวเคลียสแล้วยังถูกควบคุมด้วยยีนที่อยู่นอกนิวเคลียสอีกด้วย นั่นคือดีเอ็นเอ
ในไมโทคอนเดรียและพลาสติดซึ่งอยู่ในไซโทพลาซึม ออร์แกเนลล์ทั้งสองสามาร
ถแบ่งตัวได้ไม่อยู่ในการควบคุมของนิวเคลียส เซลล์ไข่ของสิ่งมีชีวิตเพศเมียจะมีขนาดใหญ่
 มีไซโทพลาซึมมาก สเปิร์มที่เข้ามาผสมจะมีแต่นิวเคลียส แทบจะไม่มีไซโทพลาซึมเลย
ดังนั้นลักษณะต่าง ๆ ที่ถูกควบคุมด้วยยีนที่อยู่ในไซโทพลาซึมจึงมักมาจากทางฝ่ายแม่
ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนในนิวเคลียส จะเป็นไปตามกฎของเมนเดล
     เมื่อมีการผสมระหว่างพ่อแม่ทั้งสายผสมตรง (
direct cross) 
และสายผสมกลับสลับพ่อแม่ (reciprocal cross) ลูกผสมที่ได้ของทั้ง สาย
จะมีอัตราส่วนเท่ากัน แต่ลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนนอกนิวเคลียสจะไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล

 
           สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันย่อมมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกันมากกว่าสิ่งมีชีวิต
ต่างสปีชีส์กันหรือสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีลักษณะคล้ายกันมีความแตกต่างกันน้อยกว่า
สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน ความแตกต่างเหล่านี้เนื่อจากพันธุกรรมที่แตกต่างกัน
          ลักษณะทางพันธุกรรม จำแนกได้ 2 ประเภท
            1. ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง (CONTINUOUS VARIATION)
 เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความลดหลั่นกันทีละน้อย สามารถนำมาเรียงลำดับกันได้
 เช่น ความสูง น้ำหนัก สีผิว เป็นต้น เป็นลักษณะทางปริมาณ 
          2. ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันไม่ต่อเนื่อง (DISCONTINUOUS VARIATION)
 เป็นลักษณะที่แบ่งเป็นกลุ่ม ได้อย่างชัดเจน เช่นหมู่เลือดของคน ลักษณะผิวเผือก ลักยิ้ม
 ติ่งหู การห่อลิ้น เป็นต้น เป็นลักษณะทางคุณภาพ
            ข้อสังเกต โดยทั่วไป ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง เช่น สีผิว
 นั้นสิ่งแวดล้อมจะมีอิทธิพลต่อการ แสดงลักษณะในสัดส่วนที่มากกว่าลักษณะ
ที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง เช่น หมู่เลือด

ผู้ติดตาม