เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน คิดดี ทำดี จริงใจต่อทุกคน

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พืชสมุนไพรพื้นบ้าน

พืชสมุนไพรพื้นบ้าน
          พืชสมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นยารักษาโรค โดยใช้ส่วนต่างของพืชชนิดเดียวหรือหลายชนิดพร้อมกัน พืชสมุนไพรเป็นกลุ่มพืชที่อยู่ในความสนใจ และมีผู้ศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านมากที่สุด ยารักษาโรคปัจจุบันหลายขนานที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรม ได้มาจากการศึกษาวิจัยการใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านของกลุ่มชนพื้นเมืองตามป่า เขาหรือในชนบท ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษที่ได้สังเกตว่าพืชใดนำมาใช้บำบัดโรคได้ มีสรรพคุณอย่างไร จากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ และการทดลองแบบพื้นบ้านที่ได้ทั้งข้อดีและข้อผิดพลาด

          พืชสมุนไพรพื้นบ้านในตำรับยาไทยมีหลายร้อยชนิด จะนำมากล่าวถึงเป็นตัวอย่างเพียงบางชนิด แยกตามกลุ่มพืชที่ใช้บำบัดโรคต่างๆ ดังนี้
          กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้แก้ไข้และขับปัสสาวะ  เช่น
            เปลือกพญาสัตบรรณหรือตีนเป็ด (Alstoniascholaris)
            เปลือกและใบทุ้งฟ้า (Alstonia macrophylla)
            ใบหนาด (Blumea balsamifera)
            ราก เปลือก และใบ ขลู่ (Pluchea indica)
            ใบ เนื้อไม้ ผล และเมล็ดมะคำไก่ หรือประคำไก่ (Drypetes roxburghii)
            ต้นและรากอ้อเล็ก (Phragmites australis)
            รากและใบกรุงเขมา (Cissampelos pareira)
            เถาบอระเพ็ด (Tinospora crispa)
            เถาขมิ้นเครือ (Arcangelisia flava)
            ราก เหง้า และใบหญ้าคา (Imperatacylindrica)
            ผลน้ำเต้า (Legenaria siceraria)

          กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย เช่น
             เนื้อไม้สีเสียดหรือสีเสียดเหนือ (Acaciacatechu)
             ใบและผลมะตูม (Aegle marmelo)
             เปลือกประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus)
             เหง้าไพล (Zingiber purpureum)
             เหง้าและรากกระชาย (Boesenbergia rotunda)
             แก่นฝาง (Caesalpinia sappan)
             ราก เปลือก เนื้อไม้ ใบและดอกแก้ว (Murrayapaniculata)
             เปลือกโมกหลวง(Holarrhenapubescens)

          กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาระบายและขับพยาธิ เช่น
             ผลดิบมะเกลือ (Diospyros mollis)
             แก่นไม้มะหาด (Artocarpus lakoocha)
             เมล็ดเถาเล็กมือนาง (Quisqualis indica)
             เมล็ดสะแกนา (Combretum quadran-gulare)
             เมล็ดแห้งฟักทอง (Cucurbita moschata)
             เนื้อในเมล็ดมะขาม (Tamarindus indica)

          กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาขับลม เช่น
             เหง้าแก่ขิง (Zingiber officinale)
             เหง้าว่านน้ำ (Acorus calamus)
             ผลกระวาน (Amomum krervanh)
             เหง้าข่า (Alpinia galanga)
             ผลพริกไทย (Piper nigrum)
             ต้นตะไคร้ (Cymbopogon citratus)

         กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้แก้โรคผิวหนัง เช่น
             เปลือก ใบ และเมล็ดสารภีทะเลหรือกระทิง (Calophyllum inophyllum)
             ใบและเมล็ดชุมเห็ดไทย (Cassia tora)
             ใบชุมเห็ดเทศ หรือ ชุมเห็ดใหญ่ (Cassia alata)
             ใบ ดอกและเมล็ดเทียนบ้าน (Impatiensbalsamina)
             รากและใบทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus)
             เปลือก ใบ ดอกและผลโพธิ์ทะเล (Thespesia populnea)
             ใบและเมล็ดครามป่า (Tephrosia purpurea)
             ยางสลัดไดป่า (Euphorbia antiquorum)
             น้ำยางสบู่ดำ (Jatropha curcas)
             เมล็ดทองกวาว (Butea monosperma)
             เปลือกเถาสะบ้ามอญ (Entada rheedii)
             เมล็ดกระเบาใหญ่ (Hydnocarpus anthelminthicus)
             เหง้าข่า (Alpiniaa galanga)
             หัวหรือกลีบกระเทียม (Allium sativum)

          กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงและไล่แมลง เช่น
             รากเถาโล่ติ๊น หรือหางไหล (Derris elliptica)
             ใบและเมล็ดน้อยหน่า (Annona squamosa)
             รากหนอนตายหยาก (Stemona tuberosa)
             เมล็ดงา (Sesamun indicum)
             ผลมะคำดีควายหรือมะซัก (Sapindus rarak)
             ใบเสม็ดหรือเสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi)
              ต้นขอบชะนางหรือหญ้าหนอนตาย (Pouzol-zia pentandra)
              เปลือก ใบและผลสะเดา (Azadirachta indica)
              เปลือกกระเจาหรือกระเชา (Holopteleaintegrifolia)
              ใบสดกว้าว (Haldina cordifolia)

[กลับหัวข้อหลัก]

ดอกแก้ว


กระชาย


ผลดิบมะเกลือ
พืชมีพิษ
          ชนพื้นบ้านรู้จักนำส่วนต่างๆ ของพืชหลายชนิดที่ให้สีมาใช้แต่งสีอาหาร อันเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษภัยต่อร่างกาย หรือนำพืชที่ให้สีย้อมมาย้อมผ้า แห อวน หรือหนัง โดยเฉพาะผ้าพื้นเมืองจำพวกผ้าไหม  ผ้าฝ้าย  ซึ่งให้สีสันเป็นธรรมชาติดีกว่าสีวิทยาศาสตร์หรือสีสังเคราะห์กลุ่มพืชที่ ให้สีดังกล่าว เช่น
          เหง้าขมิ้นชัน (Curcuma longa) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร
          เมล็ดคำแสด (Bixa orellana) ใช้แต่งสีแสดในอาหาร
          แก่นไม้ฝาง (Caesalpinia sappan) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร และใช้ย้อมผ้า ส่วนรากให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า
          เมล็ดคำฝอย (Carthamus tinctorius) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร
          เนื้อผลฟักทอง (Cucurbita moschata) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร
          เนื้อจากผลตาลโตนด (Borassus flabellifer) ใช้แต่งสีเหลืองทำขนมตาล
          ผลสุกผักปลัง หรือ ผักปั๋ง (Basella alba) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร
          เมล็ดข้าวเหนียวดำ (Oryza sativa var. glutinosa) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร
          กลีบดอกอัญชัน (Clitoria ternata) ใช้แต่งสีน้ำเงิน สีฟ้า สีฟ้าอมม่วงในอาหาร
          ดอกดอกดิน (Aeginetia indica)I ใช้แต่งสีน้ำเงินเข้ม ทำขนมดอกดิน
          เนื้อไม้สีเสียดเหนือ (Acacia catechu) ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง
          ใบอ่อนสัก (Tectona grandis) ให้สีแดงใช้ย้อมผ้า ย้อมกระดาษ
          เปลือกและผลสมอพิเภก (Terminaliabellirica) ให้สีขี้ม้า ใช้ย้อมผ้า
          เนื้อไม้แกแล (Maclura cochinchinensis) ให้สีเหลืองปนน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า
          เปลือกโกงกาง (Rhizophora spp.) ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมแห อวน หนัง
          ยางรง (Garcinia hanburyi) ให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าและผสมสี
          เปลือกสะเดา (Azadirachta indica var.amensis) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า
          รากมะหาด (Artocarpus lakoocha) ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า
          เปลือก ราก เนื้อไม้ และใบยอป่า (Morindapubescens) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า
          เนื้อไม้ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) ให้สีแดงคล้ำ และเปลือกให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า
          เปลือกติ้วขน (Cratoxylum formosum ssp.pruniflorum) ให้สีน้ำตาลเข้ม ใช้ย้อมผ้า
          ผลมะเกลือ (Diospyrus mollis) ให้สีดำใช้ย้อมผ้า
          เปลือกสนทะเล (Casuarina equisetifolia) ให้สีน้ำตาลแกมแดง ใช้ย้อมผ้า
          เปลือกคาง (Albizia odoratissima) ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้า หนัง
          ดอกทองกวาว (Butea monosperma) ให้สีเหลืองอมส้ม ใช้ย้อมผ้า
          ต้นคราม (Indigofera tinctoria) สมัยก่อนนิยมใช้ทำสีครามย้อมผ้า
          ต้นฮ่อม (Baphicacanthus cusia) ให้สีน้ำเงินเข้ม นิยมใช้ย้อมเสื้อม่อฮ่อมทางภาคเหนือ
          ผลมะเกิ้ม หรือมะกอกเลื่อม (Canariumsubulatum) ให้สีดำ ใช้ทำหมึกเขียนพื้นบ้าน


[กลับหัวข้อหลัก]

ต้นเผิอก


หัวเผือก
พืชที่ใช้แต่งสีอาหาร หรือให้สีย้อม
          ชนพื้นบ้านรู้จักนำส่วนต่างๆ ของพืชหลายชนิดที่ให้สีมาใช้แต่งสีอาหาร อันเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษภัยต่อร่างกาย หรือนำพืชที่ให้สีย้อมมาย้อมผ้า แห อวน หรือหนัง โดยเฉพาะผ้าพื้นเมืองจำพวกผ้าไหม  ผ้าฝ้าย  ซึ่งให้สีสันเป็นธรรมชาติดีกว่าสีวิทยาศาสตร์หรือสีสังเคราะห์กลุ่มพืชที่ ให้สีดังกล่าว เช่น
          เหง้าขมิ้นชัน (Curcuma longa) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร
          เมล็ดคำแสด (Bixa orellana) ใช้แต่งสีแสดในอาหาร
          แก่นไม้ฝาง (Caesalpinia sappan) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร และใช้ย้อมผ้า ส่วนรากให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า
          เมล็ดคำฝอย (Carthamus tinctorius) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร
          เนื้อผลฟักทอง (Cucurbita moschata) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร
          เนื้อจากผลตาลโตนด (Borassus flabellifer) ใช้แต่งสีเหลืองทำขนมตาล
          ผลสุกผักปลัง หรือ ผักปั๋ง (Basella alba) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร
          เมล็ดข้าวเหนียวดำ (Oryza sativa var. glutinosa) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร
          กลีบดอกอัญชัน (Clitoria ternata) ใช้แต่งสีน้ำเงิน สีฟ้า สีฟ้าอมม่วงในอาหาร
          ดอกดอกดิน (Aeginetia indica)I ใช้แต่งสีน้ำเงินเข้ม ทำขนมดอกดิน
          เนื้อไม้สีเสียดเหนือ (Acacia catechu) ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง
          ใบอ่อนสัก (Tectona grandis) ให้สีแดงใช้ย้อมผ้า ย้อมกระดาษ
          เปลือกและผลสมอพิเภก (Terminaliabellirica) ให้สีขี้ม้า ใช้ย้อมผ้า
          เนื้อไม้แกแล (Maclura cochinchinensis) ให้สีเหลืองปนน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า
          เปลือกโกงกาง (Rhizophora spp.) ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมแห อวน หนัง
          ยางรง (Garcinia hanburyi) ให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าและผสมสี
          เปลือกสะเดา (Azadirachta indica var.amensis) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า
          รากมะหาด (Artocarpus lakoocha) ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า
          เปลือก ราก เนื้อไม้ และใบยอป่า (Morindapubescens) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า
          เนื้อไม้ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) ให้สีแดงคล้ำ และเปลือกให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า
          เปลือกติ้วขน (Cratoxylum formosum ssp.pruniflorum) ให้สีน้ำตาลเข้ม ใช้ย้อมผ้า
          ผลมะเกลือ (Diospyrus mollis) ให้สีดำใช้ย้อมผ้า
          เปลือกสนทะเล (Casuarina equisetifolia) ให้สีน้ำตาลแกมแดง ใช้ย้อมผ้า
          เปลือกคาง (Albizia odoratissima) ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้า หนัง
          ดอกทองกวาว (Butea monosperma) ให้สีเหลืองอมส้ม ใช้ย้อมผ้า
          ต้นคราม (Indigofera tinctoria) สมัยก่อนนิยมใช้ทำสีครามย้อมผ้า
          ต้นฮ่อม (Baphicacanthus cusia) ให้สีน้ำเงินเข้ม นิยมใช้ย้อมเสื้อม่อฮ่อมทางภาคเหนือ
          ผลมะเกิ้ม หรือมะกอกเลื่อม (Canariumsubulatum) ให้สีดำ ใช้ทำหมึกเขียนพื้นบ้าน


[กลับหัวข้อหลัก]

ขมิ้นชัน


ใบอ่อนของต้นสัก
พืชอาหาร
          กลุ่มชนพื้นบ้านนำพืชหลากชนิดมาใช้เป็นอาหาร แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นตามวัฒนธรรมการบริโภคของชนเผ่า การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในเรื่องของพืชอาหารพื้นบ้านจะเน้นเฉพาะพืชที่ เก็บหาได้ในธรรมชาติ จากป่าท้องทุ่ง ฯลฯ พืชป่าหลายชนิดถูกนำมาปลูกทิ้งไว้ตามหัวไร่ปลายนา หรือในบริเวณหมู่บ้าน เพื่อความสะดวกในการเก็บหานำมาใช้บริโภคในชีวิตประจำวัน พืชอาหารบางชนิดเป็นที่นิยมกันทั่วไปเกิดการแก่งแย่งเก็บหาออกจากป่าจนเกิน กำลังผลิตทำให้ผลิตผลในธรรมชาติลดลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในปัจจุบันได้มีการนำพืชป่าดังกล่าวมาปลูกขยายพันธุ์ในสวนหรือในแปลง เพื่อเก็บผลิตผลเป็นการค้า เช่น สะตอ เนียง ผักหวาน ผักกระเฉด ฯลฯ พืชอาหารที่ใช้บริโภคเก็บหาในธรรมชาติบางครั้งจะพบวางขายตามตลาดสดในชนบท จำแนกออกเป็นกลุ่มได้

          กลุ่มพืชผักพื้นบ้าน
          รวมถึงพืชชั้นต่ำจำพวกสาหร่าย เห็ด เฟินจนถึงพืชชั้นสูงทั่วไป ชนพื้นบ้านนำส่วนต่างๆ ของพืชมาใช้บริโภคตามความเหมาะสม ได้แก่ ส่วนของราก หัว เหง้า ลำต้น ยอด ใบ ดอก ผลเมล็ด หรือใช้ทั้งต้น วิธีการประกอบอาหารอาจจะใช้เป็นผักสด  ผักลวก  ผักดอง  ต้มใส่ในแกงผัด หรือใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร พืชผักพื้นบ้านของไทย เช่น
          เทา (Spirogyra sp.) สาหร่ายสีเขียวน้ำจืดใช้กินเป็นผักกับน้ำพริก ลาบ ปนในแกงส้ม หรือ ผัดกับไข่
          เห็ด ที่เกิดตามธรรมชาติและนำมาเป็นอาหารมีหลายชนิด ส่วนใหญ่จะปรุงให้สุกเสียก่อนโดยการนึ่ง ย่าง ต้ม หรือผัด ใช้กินกับน้ำพริก ใส่แกงหรือผัดผัก เช่น
          เห็ดไข่ห่าน (Amanita vaginata)
          เห็ดลม (Lentinus praerigidus)
          เห็ดตีนตุ๊กแก (Schizophyllum commune)
          เห็ดโคน (Termitomyces fuliginosus)
          เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ (Astreaushygrometricus)
          เห็ดมันปูใหญ่ (Cantharellus cibarius)
          เห็ดตับเต่า (Boletus edulis)
          เห็ดหล่มขาวหรือเห็ดตะไคล (Russuladelica)
          เห็ดขมิ้นน้อย (Craterellus sp.)
          เฟิน ใช้ส่วนของยอดอ่อนหรือใบอ่อนเป็นอาหาร ใช้เป็นผักสดหรือผักดอง นึ่ง ลวก ผัดหรือใส่แกง เช่น
          ผักขาเขียด (Ceratopteris thalictroides)
          ปรงสวน (Stenochlaena palustris)
          ผักกูดขาว (Diplazium esculentum)
          ผักแว่น (Marsilea crenata)
          ผักกูด (Pteridium aquilinum varyarrabense)
          ผักกะเหรี่ยงหรือผักเหลียง (Gnetum gnemonvar. tenerum) ไม้พุ่มจำพวกพืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) ทางภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ยอดและใบอ่อนนิยมใช้เป็นผักลวกจิ้มน้ำพริก ผัดใส่แกงห่อหมก
          สะเดาหรือสะเดาไทย (Azadirachta indicavar. siamensis) ช่อดอกและใบอ่อนมีรสขม นำมาต้มหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำปลาหวาน
          ผักไผ่ (Polygonum odoratum) ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้ปรุงอาหารประเภทยำต่างๆ
          ผักขะยาหรือผักปู่ย่า (Caesalpinia mimosoides) ใบอ่อนและช่อดอกอ่อน ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก
          เลียบหรือผักเฮือด (Ficus lacor) ใบอ่อนและยอดอ่อนใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก หรือใช้ใส่แกงคั่ว หรือแกงต้มกะทิ
          ผักเค็ดหรือชุมเห็ดเล็ก (Cassia occidentalis) ยอดและใบอ่อนนำมาลวกเป็นผักจิ้ม
          จมูกปลาหลด (Oxystelma esculenta) ยอดและใบอ่อนใช้เป็นผักจิ้ม หรือยำ
           เถาย่านาง (Tiliacora triandra) ยอดและใบอ่อนใช้แกงเลียง ใบแก่นำมาปรุงแกงขี้เหล็ก แกงหน่อไม้
          สันตะวาใบพาย (Ottelia alismoides) ใบอ่อนและช่อดอกใช้เป็นผักจิ้มสดหรือใช้แกงส้ม
          ผักเผ็ด (Spilanthes paniculata) ดอกและใบสดใช้กินกับลาบ
          ลิ้นฟ้าหรือเพกา (Oroxylum indicum) ฝักอ่อนสดใช้กินกับลาบและน้ำพริก
          ผักสังหรือผักกระสัง (Peperomia pellucida) ยอดและต้นนำมาลวกกินกับลาบ แจ่ว
          ผักหวานบ้าน (Sauropus androgynus) ใบอ่อนนำมาลวกจิ้มน้ำพริก
          ผักหวานป่า (Melientha suavis) ยอดและใบอ่อนนำมาลวกเป็นผักจิ้ม หากกินสดๆ จะมีกลิ่นเหม็นเขียวเล็กน้อย
          บัวสาย (Nymphaea lotus var. pubescens) ก้านดอกใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือแกงเผ็ด
          สะตอ (Parkia speciosa) นิยมกินกันมากทางภาคใต้ เมล็ดกินเป็นผักสดกับแกงเผ็ดต่างๆ หรือนำไปเผาไฟก่อน ใช้ผัดเผ็ด ผัดเปรี้ยวหวานต้มกะทิ
          เนียงหรือลูกเนียง (Archidendron jiringa) นิยมเฉพาะทางภาคใต้ ใช้เมล็ดเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือกินกับอาหารเผ็ด ทำเป็นลูกเนียงเพาะและดองเป็นผักจิ้ม
          เรียง (Parkia timoriana) นิยมเฉพาะทางภาคใต้เช่นกัน นำเมล็ดมาเพาะให้งอกรากเล็กน้อยคล้ายถั่วงอก ใช้เป็นผักสด ผักดองจิ้มน้ำพริก กินกับแกงเผ็ด หรือนำมาแกง
           ชะพลู (Piper sarmentosum) ใช้ใบกินกับเมี่ยงคำ
          ขี้เหล็ก (Cassia siamea) ใบอ่อนและช่อดอกอ่อนใช้แกงขี้เหล็ก
          ผักปอดหรือจุ่มปลา (Sphenoclea zeylanica) ยอดและต้นอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก
          หญ้าเอ็นยืดหรือผักกาดน้ำ (Plantago major) ยอดและใบอ่อนใช้เป็นผักสดกินกับลาบ
          ผักปลัง (Basella alba) ช่อดอกอ่อน ยอดและใบอ่อนลวกจิ้มน้ำพริกและใช้แกงกะทิ
          แคหางค่าง (Markhamia stipulata) แคบิด (Fernandoa adenophylla) และแคป่าหรือแคทุ่ง(Dolichandrone serrulata) ใช้กลีบดอกผัดหรือยำ
          โสนหรือโสนกินดอก (Sesbania javanica) ช่อดอกสีเหลืองใช้เป็นผักสดหรือต้มเป็นผักจิ้มดองน้ำเกลือเป็นผักดอง หรือชุบไข่ทอด
          สลิดหรือขจร (Telosma minor) ใช้ดอกเป็นผักสดหรือต้มให้สุก หรือผัดใส่ไข่
          อาวหรือดอกอาว (Curcuma sessilis) ใช้ช่อดอกอ่อนเป็นผักสด
          งิ้วหรืองิ้วแดง (Bombax ceiba) ใช้เกสรตัวผู้แห้งที่ร่วงหล่นจากดอกนำมาปรุงกับแกงส้มแกงเผ็ด ใบอ่อน ดอกตูมและผลอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก
          กระโดน (Careya sphaerica) ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับน้ำพริก
          เอื้องหมายนาหรือเอื้องต้น (Costus speciosus) หน่ออ่อนต้มใช้เป็นผักจิ้ม
          เสม็ดชุน (Syzygium grata) ยอดอ่อนใช้เป็นผักสด
          เมาะหรือกระดาษขาว (Alocasia odora) ยอดอ่อนใช้แกงเลียง แกงเผ็ด แกงไตปลา
          หวาย (Calamus spp.) หวายแทบทุกชนิดใช้เป็นอาหารได้ โดยใช้ส่วนของเนื้ออ่อนคอต้นหรือส่วนโคนใบเมื่อลอกกาบใบออก จะพบเนื้ออ่อนกินสดๆ หรือปรุงอาหารอย่างอื่น
          หวายงวย (Calamus peregrinus) ผลสุกมีรสเปรี้ยว ใช้ใส่แกงให้มีรสออกเปรี้ยว
          พยอมหรือสุกรม (Shorea roxburghii) ดอกใช้ใส่แกงส้ม แกงเลียง ลวกจิ้มน้ำพริก ทอดกับไข่
          ชะมวงหรือส้มมวง (Garcinia cowa) ใบมีรสเปรี้ยว ใช้ใส่ต้มปลา ต้มหมู ต้มเครื่องใน
          ส้มแขกหรือส้มพะงุน (Garcinia atroviridis) ผลสดและเนื้อในผลตากแห้งมีรสเปรี้ยวใช้ใส่ต้มเนื้อต้มปลา แกงส้ม และน้ำแกงขนมจีน
          มันปู (Glochidion wallichianum) ยอดอ่อนกินเป็นผักสด นิยมกินกับขนมจีนทางภาคใต้
          มะกอกป่า (Spondias pinnata) ใบอ่อนและช่อดอก ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริกและหลน
          แฟบหรือหูลิง (Hymenocardia wallichii) ผลอ่อนกินสด ใส่แกงเลียง แกงส้ม
          พาโหมหรือกระพังโหม (Paederia linearis และ P. foetida) ใช้เป็นผักผสมข้าวยำทางภาคใต้จิ้มน้ำพริก ทั้งผัดทั้งต้ม กินกับแกงไตปลา
          ผักหนาม (Lasia spinosa) ยอดอ่อนต้มจิ้มน้ำพริก แกงส้ม ผัด ลำต้นอ่อนปอกผิวออกดองเป็นผักแกล้มแกงไตปลาและขนมจีน
          กุ่มน้ำ (Crateva magna และ C. religiosa) ใบอ่อนและดอก ลวกหรือดองเป็นผักจิ้มน้ำพริก
          กำจัดต้น (Zanthoxylum limonella) เมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศผสมกับเครื่องแกงให้มีรสหอมและเผ็ดร้อน ใบอ่อนใช้เป็นผักจิ้ม
          สะทอนหรือสะท้อนน้ำผัก (Milettia utilis) ชาวบ้านแถบจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก นำใบสะทอนมาหมักเพื่อทำเครื่องปรุงอาหารที่มีรสเค็มหอมคล้ายน้ำปลา

          กลุ่มพืชไม้ผล
          พรรณไม้ในป่าหลายชนิดให้ผลที่มีรสและคุณค่าทางโภชนาการ ชนพื้นบ้านนำมาใช้บริโภคแบบผลไม้เศรษฐกิจทั่วไป มีเพียงไม่กี่ชนิดที่นำมาปลูกตามบ้านหรือหัวไร่ปลายนา เช่น
          คอแลนหรือหมากแวว (Nephelium hypoleucum) ผลคล้ายลิ้นจี่ แต่มีเมล็ดใหญ่เนื้อหุ้มเมล็ดบาง รสค่อนข้าวเปรี้ยว ใช้กินกับเกลือหรือน้ำปลาหวาน
          เงาะขนสั้น (Nephelium ramboutan-ake) ผลคล้ายเงาะแต่ขนสั้นเหลือแค่โคน เนื้อหุ้มเมล็ดรสหวานไม่เท่าเงาะ พบบ้างตามตลาดชนบททางภาคใต้ตอนล่าง มีมากในประเทศมาเลเซีย
          ตะคร้อหรือมะโจ๊ก (Schleichera oleosa) ผลสุกกินได้
          กระหรือประ (Elateriospermum tapos) ทางภาคใต้นำเมล็ดมาคั่วแกะกินเนื้อใน
          หว้า (Syzygium cumini) ผลสุกสีดำ รสฉ่ำหวาน
          มะขามป้อม (Phyllanthus emblica) ผลสดใช้อมหรือเคี้ยวทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ ผลแห้งนำมาต้มดื่มแก้ไอ แก้ไข้
          มะดัน (Garcinia schomburgkiana) ผลมีรสเปรี้ยวจัดใช้แทนมะนาวได้ดี มักนิยมนำไปดองน้ำเกลือเพื่อทำให้รสเปรี้ยวลดลงและเก็บไว้ได้นาน
          ก่อหนาม ก่อเดือย ก่อแป้น (Castanopsisspp.) ไม้ก่อหลายชนิดมีผลที่มีหนามหุ้ม เมื่อนำเมล็ดไปคั่วแกะกินเนื้อใน ได้รสหวานมันคล้ายลูกเกาลัด
          ลูกมุดหรือส้มมุด (Mangifera foetida) นิยมปลูกตามบ้านหรือหัวไร่ปลายนาทางภาคใต้ผลสุกมีกลิ่นหอม รสหวาน ผลดิบนำมาทำมะม่วงดองได้เช่นเดียวกับมะม่วง
          มะเม่าหลวง (Antidesma bunius) และ มะเม่า (A. ghaesembilla) ผลเล็กจำนวนมากออกเป็นพวงบนช่อ ผลสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว
          เขลงหรือหยีหรือนางดำ (Dialium cochinchinensis) ผลสุกสีดำ เนื้อหุ้มเมล็ดนุ่มสีน้ำตาลรสหวานอมเปรี้ยว นิยมนำไปคลุกหรือเคลือบน้ำตาลเรียกลูกหยี ชนิดผลโตเรียก กาหยี (Dialium indum) พบทางภาคใต้
          ต๋าวหรือลูกชิด (Arenga pinnata) ปาล์มออกผลเป็นทะลาย เนื้อในผลกินได้ แต่ต้องต้มให้สุกเสียก่อน นิยมนำไปเชื่อมน้ำตาล เรียกลูกชิด
          จาก (Nypa fruticans) ปาล์มในป่าโกงกางออกผลเป็นทะลาย เนื้อในผลที่ยังไม่แข็ง มีรสหวานกินได้สดๆ แต่เมื่อผลแก่จัดเนื้อในจะแข็งและมีแป้งมาก ต้องนำมาบดเสียก่อนจึงนำมาทำอาหารได้
          มะตูม (Aegle marmelos) เนื้อของผลสุกเมื่อแกะเมล็ดทิ้งไปกินได้ รสหวาน ผลดิบนำมาฝานเป็นแผ่น ตากให้แห้งแล้วเอาไปย่างไฟพอเกรียม ใช้ชงน้ำร้อนแทนชาได้ เรียกชามะตูมหรือน้ำมะตูม
          มะไฟหรือมะไฟป่า (Baccaurea sapida) ผลสุกรสหวานเช่นเดียวกับมะไฟบ้าน แต่มะไฟในป่าผลมักจะมีรสหวานอมเปรี้ยว บางต้นมีรสเปรี้ยวจัด
          ละไมหรือรำไบ (Baccaurea motleyana) ผลสุกกินได้คล้ายมะไฟ รสหวานอมเปรี้ยว
          ส้มโหลกหรือส้มหูก (Baccaurea lanceolata) ผลคล้ายมะไฟ ผลสุกสีนวล รสเปรี้ยวจัด เปลือกหนาใช้ประกอบอาหาร
          ลังแขหรือลำแข (Baccaurea macrophylla) ผลใหญ่ เปลือกหนามาก เมล็ดมีเนื้อหนากรอบรสหวาน
          ละมุดสีดาหรือละมุดไทย (Manikara kauki) ผลรูปไข่ขนาดพุทรา สุกสีน้ำตาลอมเหลือง รสหวานมี ๒-๓ เมล็ด เป็นผลไม้พื้นบ้านของไทยในสมัยก่อน ปัจจุบันหายาก

[กลับหัวข้อหลัก]

เทา


เห็ดโคน


ผลละมุดสีดา


ลูกหว้า
พืชที่ใช้ทำกระดาษ
          การเขียนหนังสือลงบนวัสดุที่ทำจากพืชที่นิยมกันมากในสมัยโบราณอีกแบบหนึ่ง ได้แก่การจารึกลงใบลาน (Corypha umbraculifera) หรือใบตาล (Borassus flabellifer) เรียกว่า "คัมภีร์ใบลาน" การเขียนตัวอักษรลงบนใบลานเรียกว่า "การจาร" โดยใช้การฝังเขม่าสีดำลงไปในร่องที่ขีดไว้บนใบลาน แล้วขัดตกแต่งใบลานให้สะอาด จะได้ตัวอักษรสีดำฝังอยู่ในเนื้อของใบลานการทำคัมภีร์ใบลานในสมัยก่อน จะใช้เข้าห่อหรือผูกห่อคัมภีร์ตกแต่งปกหน้าหลังเช่นเดียวกับสมุดในปัจจุบัน
          กระดาษสาทำจากต้นปอกระสา (Broussonetia papyrifera) และกระดาษข่อยทำจากต้นข่อย (Streblus asper)สมุดไทยที่ทำขึ้นจากกระดาษสาเรียก "สมุดสา" ทำจากกระดาษข่อยเรียก "สมุดข่อย" ใช้ตามชนบท ในสมัยก่อนสมุดมีลักษณะเป็นกระดาษแผ่นเดียวยาวติดต่อกันไปตลอดเล่ม ด้วยการพับทบกลับไปกลับมาจนเป็นเล่มหนา กว้างยาวเท่าใดก็ได้ สามารถเขียนภาพประกอบทั้งภาพลายเส้นและภาพสีประเภทจิตรกรรมลงสมุดได้ด้วย

          การเขียนหนังสือลงบนวัสดุที่ทำจากพืช ที่นิยมกันมากในสมัยโบราณอีกแบบหนึ่ง ได้แก่ การจารึกลงใบลาน(Corypha umbraculifera) หรือใบตาล (Borassus flabellifer) เรียกว่า "คัมภีร์ใบลาน" การเขียนตัวอักษรลงบนใบลานเรียกว่า "การจาร" โดยใช้การฝังเขม่าสีดำลงไปในร่องที่ขีดไว้บนใบลาน แล้วขัดตกแต่งใบลานให้สะอาด จะได้ตัวอักษรสีดำฝังอยู่ในเนื้อของใบลาน การทำคัมภีร์ใบลานในสมัยก่อน จะใช้เข้าห่อหรือผูกห่อคัมภีร์ตกแต่งปกหน้าหลังเช่นเดียวกับสมุดในปัจจุบัน



[กลับหัวข้อหลัก]

ปอสา
พืชที่ใช้ทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน
          คุณภาพเสียงของเครื่องดนตรีพื้นเมืองของไทยขึ้นกับวัสดุที่ใช้ เช่น แคนคุณภาพดีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ทำจาก ไผ่เฮียะ (Cephalostachyum virgatum) ระนาดที่มีคุณภาพมักใช้ไผ่บง (Bamboo spp.) หรือไม้พยุง (Dalbergiacochinchinensis) เป็นพื้นระนาด ส่วนรางระนาดทำจากไม้หลายชนิด เช่น มะริด(Diospyrosphilippensis) มะเกลือ (Diospyros mollis) กลองพื้นเมืองที่ให้เสียงดีขึ้นอยู่กับไม้และ หนังที่ขึงหน้ากลอง เช่น กลองเพล ต้องใช้ไม้เนื้อแข็ง หนาจำพวกประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) ชิงชัน (Dalbergia oliveri) เพราะความหนาและความแข็งของเนื้อไม้ช่วยให้อุ้มเสียงได้ดี


[กลับหัวข้อหลัก]

พืชที่ใช้ในงานหัตถกรรมพื้นบ้าน
          กลุ่มชนพื้นบ้านใช้พืชเป็นวัตถุดิบในงานจักสาน หรือทำเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรเครื่องมือจับหรือดักสัตว์ และภาชนะใช้สอยในครัวเรือน สำหรับไว้ใช้สอยเท่าที่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน เครื่องมือหรือภาชนะเหล่านั้นจะมีลักษณะเฉพาะถิ่นที่บ่งบอกถึงงานฝีมือของ กลุ่มชนต่างๆ เครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างมีการผลิตอย่างประณีตหรือมีลวด ลายสวยงาม อันเป็นงานฝีมือพื้นบ้านที่ได้รับการถ่ายทอดต่อกันมาหลายรุ่น เครื่องใช้หรือภาชนะพื้นบ้านบางอย่างได้กลายมาเป็นของใช้สำหรับคนชั้นสูง
          เครื่องมือเครื่องใช้หรือภาชนะที่มีลักษณะเฉพาะถิ่น เช่น กระเป๋าและตะกร้าย่านลิเภาของจังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้เฟินเถาของสกุลย่านลิเภา (Lygodium) เสื่อกระจูดหรือสาดกระจูดของภาคใต้ใช้ต้นของกระจูด (Lepironia articulata) "หมาหรือหมาจาก" เป็นภาชนะตักน้ำในบ่อทางภาคใต้ ทำด้วยกาบหมากของต้นหมาก(Arecacatechu) หรือกาบของต้นหลาวชะโอน (Oncosperma tigillaria) ส่วนภาชนะตักน้ำในบ่อทางภาคเหนือเรียก "น้ำถุ้งหรือน้ำทุ่ง"  สานด้วยไม้ไผ่แล้วยาด้วยชันและน้ำมันยาง มีไม้ไขว้กันด้านบนตรงปากสำหรับเกี่ยวขอ ไม้ไผ่บางชนิดที่ลำขนาดใหญ่ปล้องยาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕-๒๕ เซนติเมตร มักจะถูกนำมาใช้เป็นกระบอกบรรจุน้ำขนถ่ายน้ำ หรือใช้ในระบบประปาจากแหล่งน้ำธรรมชาติตามหมู่บ้านชาวเขาทางภาคเหนือ เช่น ไผ่หก (Dendrocalamus hamiltonii) ไผ่บงใหญ่ (Dendrocalamus brandisii) ไผ่เป๊าะ(Dendrocalamusgiganteus) และไผ่ซางดอย (Dendrocalamusmembranaceus) ไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติอเนกประสงค์ ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้และงานจักสานหลายประเภท
      
          ประเภทที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค เช่น ก่องข้าวหรือกระติบข้าว แอบข้าว แอบยา แอบหมาก ตะกร้า กระบุง กระทาย กระเหล็บ กะโล่ ฯลฯ
          ประเภทที่ใช้ในการจับดักสัตว์ เช่น ลอบ ไซ เอ๋อ ข้องลอยหรือข้องเป็ด อีจู้ สุ่ม ตุ้มปลาไหล ฯลฯ
          ประเภทที่ใช้เกี่ยวกับประเพณีความเชื่อและศาสนา เช่น ก๋วยน้อย ก๋วยหลวง ตานสลาก เฉลว เป็นต้น


[กลับหัวข้อหลัก]

เฉลว
พืชกับศิลปะไทยโบราณ
          กลุ่มชนพื้นบ้านรู้จักคิดค้นนำเอาลักษณะและโครงสร้างของพืช มาเป็นจุดกำเนิดของลวดลายประดิษฐ์จากพืชหรือดอกไม้ไทยหลายชนิดแต่ครั้งโบราณ ดังปรากฏอยู่ในลวดลายโบราณของผ้าไทหรือเครื่องแกะสลัก ลวดลายประดิษฐ์บางลายนิยมนำมาใช้กัน จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทยถึงปัจจุบัน ลวดลายประดิษฐ์จากพืชหรือดอกไม้ไทย เช่น
          ลายกลีบบัวหลวง
          กลีบบัวลายไทย
          ลายบัวหงายและบัวคว่ำ
          ลายดอกลำดวน
          ลายดอกพิกุล
          ลายดอกมะลิ
          ลายดอกสายหยุด
          ลายดอกรัก
          ลายดอกจันทน์
          ลายกาบไผ่
          ลายใบไผ่ และ
          ลายดอกหญ้า


[กลับหัวข้อหลัก]

เฉลว
พืชอเนกประสงค์
          หมายถึง พืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างทั้งในด้านการบริโภค อุปโภค พิธีกรรม และความเชื่อถือของกลุ่มชนพื้นบ้าน พืชพื้นบ้านอเนกประสงค์มีมากมาย เช่น

          พลวง (Dipterocarpus tuberculatus) ชันไม้ที่ได้จากการเจาะต้น ใช้ยาแนวไม้ ยาแนวเรือและทำไต้ ไม้  ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างในร่ม ทำแจว พาย ครก สาก กระเดื่อง กังหันน้ำ กระเบื้องไม้ ฯลฯ ราก นำมาต้มกินแก้ตับอักเสบ ใบ ใช้เผาไฟแทรกน้ำปูนใสกินแก้บิด และถ่ายเป็นมูกเลือด ทางภาคเหนือใช้ใบแก่ที่เรียกว่า "ตองตึง" เย็บเป็นตับใช้มุงหลังคาและทำฝา ใช้ห่อยาสูบ และห่อของสดแทนใบกล้วย

         พะยอม (Shorea roxburghii) ชันไม้และไม้ ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับพลวง ไม้ใช้ทำเรือขุดและต่อเรือได้ดี ทนเพรียง เปลือก ใส่กันบูด มีรสฝาดกินกับพลูแทนหมาก ใช้เป็นยาสมานลำไส้แก้ท้องเดิน ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง ดอก ใช้ผสมยาแก้ไข้และยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ ดอกอ่อน ใช้ผัดกับไข่หรือชุบไข่ทอด

         ส้มป่อย (Acacia concinna) ใบอ่อน ใช้เป็นเครื่องปรุงชูรส ใส่แกงหรืออาหารอื่นเพื่อให้รสเปรี้ยวขึ้น ใบอ่อนต้มคั้นเอาน้ำผสมน้ำผึ้ง กินเป็นยาขับปัสสาวะ ผล ใช้บดแล้วต้มนำน้ำมาใช้เป็นยาสระผม ซึ่งชนพื้นเมืองเชื่อว่าจะนำโชคดีมาสู่ตนและยังใช้น้ำจากฝักส้มป่อยรดน้ำใน พิธีสงกรานต์ของไทย

          เสม็ด (Melaleuca cajuputi)  เปลือก ทำประทุนเรือกันแดดและฝน หรือใช้มุงหลังคาบ้านชั่วคราว นำเปลือกมาชุบน้ำมันยางมัดทำเป็นไต้ เสม็ด  ติดไฟได้ดี ใบ กลั่นได้น้ำมันเขียวหรือน้ำมัน เสม็ด ใช้ทาแก้เคล็ด เมื่อย ปวดบวม และใช้เป็นยาฆ่าแมลง ใบและเปลือก ใช้ฟอกแผลกลัดหนอง เพื่อดูดหนองให้แห้ง ไม้ ใช้ทำฟืนและถ่าน


[กลับหัวข้อหลัก]

ฝักส้มป่อย


บรรณานุกรม
นายธวัชชัย สันติสุข

[กลับหัวข้อหลัก]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม